Thursday, March 22, 2007

Visualization Training

เรียบเรียงบางส่วนจาก...The Mind's Eye โดย Robert Sommer ในเรื่อง Visualization Training

การฝึกฝน "จินตนาการ"

เพราะ จินตนาการ เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับจินตภาพ คือการสร้างภาพในสมอง หรือนึกคิดเป็นภาพ จึงเกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์อย่างเลี่ยงไม่ได้ ถือเป็นทักษะเบื้องต้นของความคิดสร้างสรรค์ก็น่าจะได้

ส่วนมากการฝึกหัดการพัฒนาการจินตนาการ เน้นความคิดสร้างสรรค์ด้วยถ้อยคำ เป็นการคิดที่ผิดแผกไป เป้าหมายเพื่อเปลี่ยนทิศทางมากกว่ากรรมวิธีคิด หนังสือแบบฝึกหัดจึงเป็นลักษณะถ้อยคำเป็นส่วนมาก หารูปภาพประกอบปรากฏน้อยมาก จนบางทีกลายเป็นการฝึกการแก้ปริศนาและเล่นเกมอิจฉริยะ ทั้งหมดเป็นเรื่องถ้อยคำโวหารทั้งสิ้น ส่วนมากเป็นการให้แสดงการเปรียบเทียบหรือเปรียบเปรยของสิ่งหนึ่งไปกับสิ่งอื่น เช่น ความโง่ดุจดัง….. ความอ่อนนุ่มเหมือน………ความรวดเร็วปาน……..เป็นต้น หรือไม่ก็ขยายคุณสมบัติของสิ่งหนึ่งที่มีประโยชน์เฉพาะไปสู่ประโยชน์อื่นที่เป็นไปได้ เช่น กำหนดประโยชน์อื่นของหมวก ของเครื่องเหลาดินสอ หรือของอิฐก่อสร้าง เป็นต้น งานค้นคว้าวิจัยจึงสะท้อนเรื่องของสัญญาหมายรู้ (cognition) มากกว่าการรับรู้ (perception) มีส่วนน้อยที่มุ่งเน้นโดยตรงเรื่องการฝึกฝนจินตภาพในความคิด
ข้อมูลการรับรู้รับทราบเชิงประจักษ์เกิดขึ้นจากสิ่งชี้นำ (visual cues) หรือลางสังหรณ์ เหมือนสิ่งเตือนจำในถ้อยคำโวหาร สิ่งเตือนจำหรือบ่งชี้ นำไปสู่ภาพรวมทั้งหมด มักเกิดจากการลดส่วน หรือเป็นส่วนปลีกย่อยที่มีความสำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง อันอ้างถึงภาพรวมได้ภายหลัง นักจิตวิทยา Francis Galton อธิบายคุณค่าของสิ่งชี้นำนี้ เปรียบเหมือนสิ่งของภายในบ้านที่คุ้นเคย สามารถนึกภาพหรือรับรู้ได้จากการมองเห็นบ้านจากภายนอกได้ดีกว่าไม่ได้มองเห็นบ้านนั้นเลย นักเล่นหมากรุกเห็นประโยชน์จากการมองกระดานเปล่า เมื่อเขาเล่นเกมนั้นในใจ มันช่วยให้ง่ายในการนึกภาพว่าจะเดินหมากอย่างไร ดีกว่าไม่เห็นกระดานนั้นเสียเลย นักกอล์ฟก็เช่นกันเขามักวาดภาพในใจของผลการตีครั้งต่อไปไว้ล่วงหน้าเสมอก่อนการตีในทุกๆครั้ง บ่อยครั้งที่นักเรียนนำตำราหรือโน๊ตการเรียนเข้าห้องสอบ ไม่ใช่เพราะเพื่อการลอกคำตอบ แต่หากเพื่อการช่วยในการคิดค้นสร้างสรรคำตอบ หรือให้เกิดการระลึกได้ขึ้นมาต่างหาก การได้เห็นสิ่งที่คุ้นเคย เช่นปกหนังสือ หรือสิ่งขีดเขียนในสมุดโน๊ต ช่วยให้มองเห็นภาพถ้อยคำของเนื้อหาในสิ่งนั้นๆได้ในใจ

เหตุผลหนึ่งที่ไม่มีตำราเขียนถึงการฝึกฝนการสร้างจินตภาพ เป็นเพราะผู้มีทักษะหรือนักสร้างภาพในใจ ไม่ชอบเขียนหนังสือที่เป็นแบบสากลนิยมกัน ตามรูปแบบที่เป็นอยู่ ไม่ชอบเขียนประโยคต่อประโยค ย่อหน้าต่อย่อหน้า หรือบทต่อบท เป็นต้น อีกทั้งการเขียนหนังสือเปรียบเหมือนการใช้พลั่วแซะดินจนเป็นร่องหรืออดทนเหยียบย่ำอยู่ในโคลนได้เป็นเดือนเป็นปี คนที่ต้องการทำเช่นนี้ก็ต่อเมื่อเขาหรือเธอฝันตัวเองลอยอยู่สูงกว่าพื้นดินด้วยปีกที่นึกขึ้นเอาเอง นี่ก็อาจเป็นอีกเหตุผลที่ทำไมจึงมีงานเขียนการคิดเชิงประจักษ์ทั้งด้วยการเห็นและการได้ยินมีน้อยมาก อีกทั้งหนังสือหลายเล่มที่เขียนเกี่ยวกับจินตภาพ มักเขียนโดยผู้ที่ไม่มีทักษะทางจินตภาพมากจึงไม่เป็นที่น่าสนใจนัก

หนังสือคู่มือสำหรับการฝึกฝนจินตภาพที่ดีเลิศเล่มหนึ่ง จัดทำโดย Kristina Hooper แห่ง England’s Open University เป็นโครงการจัดการเรียนการสอนทางไปรษณีย์ แพร่หลายทั่วประเทศ ใช้สื่อวิทยุ ทีวี และผู้สอนแบบชั่วคราว คอยให้เกรดข้อเขียนและจัดทำโครงการชื่อ ศิลปะและสภาพแวดล้อม (Art and Environment) เป็นการสอนร่วมกันในหลายสาขาวิชา ในส่วนของโครงการนี้ หน่วยที่ ๕ เป็นเรื่อง จินตภาพและการนึกคิดเป็นภาพ (Imaging and Visual thinking) หนังสือคู่มือนี้มีสาระที่เกี่ยวข้องกับส่วนนี้ในเรื่องแบบฝึกหัดและการปรับปรุงจินตภาพที่น่าสนใจยิ่ง เกี่ยวข้องกับการกระตุ้น ฝึกหัด การสร้างภาพ (หลับตามองเห็น) ฝึกฝนการปรับปรุงการรับรู้ที่ชัดแจ้งในทุกความรู้สึกสัมผัสได้ ผ่านการเขียนภาพเคร่าวๆ การถ่ายรูปวัตถุในมุมมองที่แตกต่างกัน การสัมผัสวัตถุ ให้อารมณ์และการรับรู้กับสิ่งที่ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รู้สึก ฝึกฝนขบวนการสร้างหรือประกอบสิ่งของใหม่ เช่น ฝึกเย็บเสื้อผ้า หรือทำชั้นวางหนังสือ ตลอดจนสุดท้ายสัมภาษณ์คนอื่นเกี่ยวกับจินตภาพของเขา แม้ว่าหนังสือคู่มือนี้เน้นความมีขั้นมีตอนที่สำคัญๆด้วยถ้อยคำโวหาร แต่เพิ่มการหลอมรวมสาระเข้าด้วยกันโดยใช้ภาพถ่าย ภาพเขียน และบันทึกเขียนด้วยมือ ซึ่งมากมายเท่าที่สามารถทำเป็นภาพได้ในทุกบทเรียน

๑. ฝึกฝนความรู้สึกสัมผัส



๒. ฝึกฝนการมองวาดและเปรียบเทียบ



๓. บุคคลแตกต่างทักษะกัน

Grace Petitclerc ได้จัดทำคู่มือการสอนวิธีหนึ่ง คือถามเด็กๆว่ามันคืออะไรด้วยการสัมผัสโดยมองไม่เห็นสิ่งนั้น แต่อาศัยความรู้สึกและนึกภาพของสิ่งนั้น Richard de Mille ใช้เกมของเด็กๆที่เกี่ยวข้องกับการคิดฝัน เช่นเกม “ให้เด็กจินตนาการว่า เด็กคนหนึ่งกำลังยืนอยู่ที่มุมห้องนี้….ให้หมวกอันหนึ่งแก่เขา..แล้วถามว่าสีอะไรที่หมวกนั้นควรเป็น แล้วให้เสื้อคลุมแก่เขาอีก…ถามอีกว่าสีอะไรที่เสื้อนั้นควรเป็น แล้วให้เปลี่ยนสีของหมวก สีอะไรที่เขาเปลี่ยนมัน แล้วให้เปลี่ยนสีอีก เป็นสีอะไรในคราวนี้ “ ผลต้องการให้เด็กเสริมสร้างจินตนาการให้มากขึ้นๆเท่านั้นเอง

หนึ่งในจำนวนเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ดีที่สุด คือ งานเขียนของ Robert McKim ซึ่งสอนวิชาการนึกคิดเป็นภาพอย่างรวดเร็วที่มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดภาควิชาวิศวกรรม เพื่อพัฒนาการเขียนภาพสามมิติและแก้ปัญหาโดยจินตภาพ การทดลองหลายอย่างแสดงการเพิ่มศักยภาพด้านจินตภาพกับบุคคลที่อ่อนด้วยสิ่งนี้มาก่อน McKim แนะเทคนิคที่เน้นวิธีผ่อนคลายต่างๆ เช่น การฝึกการหายใจ การทำสมาธิ การแนะนำเป็นพิเศษและการสะกดจิตในบางโอกาศ ผู้เขียนอื่นบางคนเสนอแนะเพิ่มไปอีกว่า คนที่ขยันและกระตือรือร้นตลอดเวลามักเป็นผู้มีทักษะทางจินตภาพต่ำ ทำงานเหมือนเครื่องจักร์เลยไม่มีเวลาสำหรับการผ่อนคลายและพักผ่อนจริงจังกับการสร้างจินตภาพให้เกิดขึ้นได้ นี่เป็นบันทึกที่น่าสนใจ แต่มีผลการพิสูจน์ยังน้อย สถาปนิกส่วนมากมักเป็นพวกฟุ้งซ่านมีทักษะทางจินภาพค่อนข้างสูง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการฝึกฝนการปฏิบัติโครงการออกแบบเสมอๆ บางครั้งใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๑๖ ชั่วโมงต่อวัน และไม่ได้หมายความว่าพวกสถาปนิกหรือศิลปินจะเป็นพวกที่คบหาได้ง่ายและผ่อนคลายเสมอนัก ทั้งๆที่บันทึกดังกล่าวเน้นการผ่อนคลายเป็นสำคัญต่อการเพิ่มจินตภาพในขณะที่ความเครียดเป็นการกีดกั้น ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับบุคคลิภาพส่วนบุคคลที่มีสภาพแตกต่างกันทางอารมณ์ได้ ยากที่กำหนดได้เด็ดขาดชัดเจนนัก ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่านักออกแบบส่วนมาก สามารถปรับเปลี่ยนความสามารถระหว่างความฟุ้งซ่านกับกิจกรรมที่กระทำอยู่โดยตรงเฉพาะหน้า และเอาใจใส่กับการผ่อนคลายตามสถานการณ์ที่เหมาะสม

วิธีการฝึกฝนการนึกคิดเป็นภาพ McKim เน้นสอนที่ขบวนการสามอย่างที่เกี่ยวข้องกันคือ การดู จินตนาการ และการเขียนวาดภาพ คนส่วนมากมองทุกสิ่งไม่ชัดเจนและแจ่มชัดเสมอไป บางส่วนขาดหายไปหรือเบลอไปด้วย McKim ใช้การแก้ปริศนา (puzzles) และเกมต่างๆในการพัฒนาการจดจำเป็นภาพ เช่น นำเสนอไพ่ห้าสำรับ หนึ่งในห้าเป็นสำรับที่ถูกต้องแต่มี่เหลือผิดจากสำหรับไพ่ปกติที่ใช้กัน คำตอบต้องการการดูที่เพ่งพินิจและสังเกตุเห็นภาพสะท้อนผิดที่กลับกัน เช่นไพ่รูปหัวใจที่กลับหัวกลับหางกัน หรือหมายเลขเบอร์ไพ่ของ ๑๐ ที่เขียนใหม่เป็น ๐๑ หรือบางครั้งให้ผู้เรียนปิดตาบอกชนิดจากเนื้อผ้าหรือชนิดของเครื่งเทศต่างๆ เป้าหมายเพื่อฝึกฝนการเอาใจใส่ในสิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงนั้นเอง

ส่วนที่สองในการฝึกฝนทักษะทางจินตภาพของ McKim คือให้นักเรียนปิดตาบอกสีของกล่องไม้จตุรัส โดยแรกมีด้านทาสีแดงหมด แล้วจึงตัดแบ่งออกเป็นกล่องย่อยๆเป็นคู่ขนานจนแบ่งออกเป็นกล่องเล็กๆ ๒๗ กล่อง ผู้เรียนต้องจินตนาการให้ได้ว่ามีกล่องที่สามด้านเป็นสีแดงกี่กล่อง หรือที่มีสีแดงสองด้านกี่กล่อง ที่มีสีแดงด้านเดียวกี่กล่อง และกี่กล่องที่มีด้านไม่มีสีเลย เป็นต้น McKim ยังใช้สิ่งทดสอบที่ออกแบบเป็นสองมิติ แต่สามารถพับเป็นภาพสามมิติได้ (ดูภาพ) ผู้เรียนดูแล้วต้องนึกภาพการพับในใจเพื่อกำหนดรูปสามมิติที่เกิดขึ้นมากรูป เป็นคำตอบว่าเป็นรูปอะไรบ้าง ส่วนที่ยากของการเรียนนี้ คือ การนึกหมุนภาพในใจในหลายรูปแต่ละครั้ง หมุนมากน้อยในทิศทางที่ต่างๆกันอีกด้วย

ส่วนประกอบของแบบฝึกหัดการสร้างภาพสามมิติของ McKim

ในส่วนทดสอบที่สามเกี่ยวข้องกับการร่างภาพ (sketch) เป็นวิธีการคิดเชิงโครงร่าง (schematic) ซึ่ง McKim เรียกว่า การพูดเชิงกราพฟิค นักเรียนเริ่มโดยการเขียนภาพขยุกขยิกอย่างอิสระ (doodling) แล้วค่อยๆจัดแจงภาพนั้นให้เป็นเรื่องราวขึ้น แล้วทำให้เป็นภาพที่ชัดเจน ในที่สุดเขียนออกมาเป็นภาพจากจินตภาพที่เกิดขึ้นในใจ ต่อมาฝึกเขียนภาพจากสิ่งที่ที่ตนมองไม่เห็นแต่สัมผัสได้ด้วยความรู้สึกเท่านั้น เช่นซ่อนสิ่งที่เขียนไว้ในถุงกระดาษยอมให้มือล้วงไปจับต้องได้ เป็นต้น เพราะ McKim สนใจในเรื่องการนึกคิดเป็นภาพ การฝึกฝนส่วนมากจึงเป็นการเห็นทั้งภายนอกด้วยตาและการเห็นภายในด้วยใจ อย่างไรก็ตามก็จะฝึกฝนได้คล้ายคลึงกันสำหรับในแง่สัมผัสอื่นนอกจากการมองเห็นด้วยตา หลักสำคัญของวิธีการฝึกฝนเหล่านี้ คือการฝึกหัดที่ส่งผลประเมินกลับทันทีเพื่อพัฒนาการปฏิบัติการนั้นๆต่อไป

นักข่าว Ross Parmenter ปรับปรุงวิธีการเพื่อพัฒนาทักษะของการสังเกตุการณ์ เกมการล่าความเหมือนเพื่อการเปรียบเทียบ (เกมปลาในสระ) ของเขา สมควรจัดเป็นวิธีการฝึกฝนจินตภาพอีกวิธีหนึ่ง เขาได้ความคิดจากการเดินทางเที่ยวบินระหว่างเมืองออตตาวาและเมืองนิวยอร์คช่วงเปลี่ยนเวลา เมื่อไรก็ตามที่เขาสอดแนมวัตถุใดเขามักถามตัวเองว่า "มันช่วยให้ย้อนระลึกถึงอะไรบ้าง?"

๑. การสร้างภาพเปรียบเทียบจากการสัมผัส และความรู้สึก


๒. การประมวลความจำด้วยภาษาภาพและภาษาเขียน

๓. การสร้างภาพในใจแต่ละคนไม่เหมือนกัน

ทำให้ได้คำตอบแตกต่างในเรื่องวัสดุ สายพันธ์ หรือแบบจำลองในแต่ละครั้ง เช่น ถนนคดเคี้ยวช่วยให้นึกถึงที่ปักผมที่ทำด้วยกระ สายน้ำบ่งถึงทางเดินของหนอนในป่า และสะพานใหญ่บ่งชี้ถึงนกกระสาสองตัวพันคอเพื่อจูบกัน ขณะที่เกมดำเนินไป การเปรียบเทียบความเหมือนก็จะยิ่งเร็วขึ้น เขารู้สึกว่าความชำนาญที่เป็นนักเขียนช่วยให้สร้างการเปรียบเทียบความเหมือนในเกมนี้ได้มาก วิธีฝึกนี้เกี่ยวข้องกับการมองอะไรในมุมมองใหม่แล้วเปลี่ยนให้กลายเป็นคำพูด เขาชอบคำพูดที่ทำให้ความทรงจำพลั่งพลูออกมาบนแผ่นกระดาษภาพที่ว่างเปล่า เพื่อเพิ่มอำนาจการสังเกตุการณ์ เขาแนะนำให้เอาใจใส่การการมองสิ่งใดราวกับว่าตนเองเป็นนักข่าวที่กำลังทำข่าว เสนอเรื่องราวบนกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือรายงานพิเศษประจำสัปดาห์ สิ่งนี้ช่วยกระตุ้นให้เห็นสิ่งต่างๆ แจ่มชัด มีชื่อกำกับ และใช้รายละเอียด เพื่อสร้างภาพให้คนอื่นเข้าใจได้

สิ่งที่ขาดหายไปในวิธีการเหล่านี้คือ ข้อมูลว่าเขาทำอย่างไร แม้เป็นเช่นเกมกิฬาในร่มต่างๆ ที่สนุกและไม่มีอันตราย อย่างไรก็ตามก่อนที่จะนำไปใช้ในหลักสูตรการเรียน หรืออบรมปฏิบัติการ ต้องมีความพยายามในการวัดผลที่คาดว่าจะได้รับด้วย

มีการยอมรับกันแม้ไม่เป็นเอกฉันท์ว่า ผู้มีจินตภาพต่ำมักทำงานในสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาพเป็นพื้นฐานได้ดี คนจะลดการใช้เหตุผลน้อยลงเมื่อพยายามมองและเปลี่ยนมุมมองของภาพในลักษณะสามมิติ งานที่เกี่ยวข้องกับงานสร้างสรรค์การเคลื่อนไหว เช่นการวาดภาพหรือการแสดง ต้องอาศัยประโยชน์ที่ได้จากการสร้างจินตภาพมากกว่าทักษะทางภาษาพูดที่เข้มงวด หลายคนที่เมื่อต้องการสร้างจินตภาพมักอยู่ในสภาวะที่ต้องการการผ่อนคลายสูง นักศึกษาด้านวารสารศาสตร์คนหนึ่งกล่าวว่า ในขณะเขียนนวนิยาย เขาจะนึกภาพไม่ได้เลยถ้าไม่อยู่ในอารมณ์ที่ผ่อนคลายจริงๆ ยิ่งตอนวางโครงเรื่องยิ่งต้องการผ่อนคลาย หลับตา และพยายามอยู่ในภวังค์ที่นึกถึงภาพต่างๆเหมือนกำลังฉายภาพสไลด์ในใจ เหล่านี้เป็นความแตกต่างระหว่างการฝึกฝนการนึกคิดเป็นภาพและการย้อนความทรงจำโดยทั่วไป ระบบที่ใช้ในการกระตุ้นความจำโดยใช้ภาพเป็นเครื่องชี้นำต้องการความผ่อนคลายมากและเน้นการตื่นตัวด้านจิตใจสูงมาก
หลายคนที่มีความสามารถในการทำสมาธิสูงๆจะสร้างรายละเอียดของจินตภาพได้มากมาย

ความสามารถในขณะการคิดเป็นภาพจะเกี่ยวข้องกับจังหวะการหายใจสม่ำเสมอ จังหวะหายใจผิดปกติจะสัมพันธ์กับคนมีจินตภาพต่ำ ความเพ้อฝันในการสร้างเรื่องราวต่างๆให้เป็นชุดๆต่อเนื่องกันนั้นต้องอาศัยอารมณ์ช่วงที่มีการผ่อนคลายและสบายสุดๆ งานค้นคว้าของ ซิกมันต์ ฟรอยด์ ก็ยืนยันการฝันเป็นภาพนั้นเกิดผลมากในช่วงที่คนๆนั้นอยู่ในสภาวะที่ครึ่งหลับครึ่งตื่น สภาวะการผ่อนคลายจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญในการฝึกฝนการสร้างจินตภาพ

เป้าหมายในการฝึกฝนการสร้างจินตภาพ ควรเกี่ยวข้องกับการศึกษาในทุกระดับ และควรพัฒนาให้เกิดทักษะการปิดเปิดสลับความคิดได้ในหลายรูปแบบ สังคมจะได้ประโยชน์กับคนที่มีความคิดหลายรูปแบบ มีความสามารถด้านจิตใจสูง เป็นการดีที่บางคนสามารถพิจารณาในเรื่องบางเรื่องที่ไม่ต้องอาศัยการจินตภาพ และก็ดีสำหรับบางคนที่ไม่สามารถเลิกล้มการนึกคิดอะไรให้เป็นภาพได้เลย ไม่มีการยืนยันในความเชื่อที่ว่านามธรรมล้วนๆจะเป็นรูปแบบสำคัญของการสร้างเหตุผลเสมอไป การขาดความสัมพันธ์กับสิ่งที่เป็นรูปธรรมเชิงประจักษ์และแยกสิ่งเหล่านั้นออกจากประสบการณ์ไม่ควรเป็นสิ่งที่พึงประสงค์.....

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับนักออกแบบ

การนึกคิดเป็นภาพในใจเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักออกแบบทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบบ้าน การตกแต่งภายในโรงแรม การจัดโชว์หน้าร้านเพื่อแสดงสินค้า การจัดสวนในโรงเรียน ความสามารถในการมองเห็นผลเป็นภาพในจิตใจเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับพวกเขาเหล่านี้ จากการเป็นนักจิตวิทยาที่ทำงานใกล้ชิดกับสถาปนิก ทำให้ทราบว่า จินตภาพช่วยให้สถาปนิกทำงานออกแบบบนภาพสองมิติได้ดีกว่าคนทั่วไปที่มองเห็นและจะต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่นึกคิดออกมาเป็นภาพสามมิติเหมือนพวกสถาปนิกได้ เพราะฉะนั้นการได้ร่วมทำงานกันกับสถาปนิกทำให้คนทั่วไปได้เพิ่มทักษะการคิดด้วยภาษาภาพในใจ และเห็นความสำคัญในการใช้มันอธิบายสิ่งต่างได้เพิ่มจากภาษาเขียน

ในการเสนองานออกแบบกับคณะ ผู้ที่แนะนำหรือเสนอแนะสิ่งที่เกิดประโยชน์มักเกิดจากคนที่มีทักษะในการนึกคิดด้วยภาพ เพราะสามารถสื่อสารกันได้สะดวก แต่สำหรับผู้มีทักษะด้านนี้น้อยก็จำเป็นต้องใช้สื่อของความคิดที่เป็นรูปธรรมเชิงสามมิติมากๆ เช่นหุ่นจำลองหรือภาพวาดเหมือนจริง เป็นต้น เท็คนิควิธีการสร้างงานกราพฟิคสมัยใหม่ช่วยนักออกแบบให้ง่ายต่อการนำเสนอความคิดที่เหมือนจริงกับลูกค้าทั่วไป เช่นการจำลองภาพของสภาพแวดล้อมในงานภูมิทัศน์ ใช้การรวมประสานเข้าด้วยกันระหว่างสิ่งออกแบบที่เป็นหุ่นจำลองและตั้งอยู่ท่ามกลางของสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง บางกรณีพบว่าการทำหุ่นจำลองอาคารด้วยกระดาษแข็งขนาดมาตราส่วนใหญ่ๆช่วยความเหมือนจริงได้มากขึ้น เข้าใจในรายละเอียดมากกว่าหุ่นจำลองขนาดเล็ก รวมถึงเท็คนิคการจำลองให้เห็นภาพที่เกิดขึ้นอยู่ภายในอาคารก็ช่วยสร้างความเหมือนจริงได้มากขึ้นตามลำดับ ทั้งหมดเป็นการเสริมการคิดเป็นภาพของผู้คนที่มีทักษะทางจินตภาพต่างกันนั่นเอง

สถาปนิกส่วนมากสามารถนึกคิดเป็นภาพได้ชัดและเกิดขึ้นตลอดเวลา เขาจึงมักใช้หุ่นจำลองเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อความคิดกับลูกค้าหรือต่อสาธารณะชนทั่วไป คนที่มีทักษะทางจินตภาพก็สามารถรับรู้และตอบโต้ความคิดที่มีประโยชน์กลับไปได้ และจะช่วยให้สถาปนิกสามารถปรับปรุงความคิดที่ตอบสนองผู้ใช้อาคารได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทักษะการคิดด้วยจินตภาพนี้ เกิดได้เพราะการฝึกฝน และทุกคนไม่เฉพาะนักออกแบบควรมีทักษะการคิดทำนองนี้ เพราะจะเป็นประโยชน์ในกรณีที่วิธีคิดแบบหนึ่งไม่เป็นผลก็สามารถสลับใช้อีกวิธีนึกคิดด้วยจินตภาพแทนที่ได้

หลายคนคิดว่าจินตภาพนั้นเกี่ยวข้องกับทัศนศิลป์ ยิ่งจะเกี่ยวข้องส่วนมากกับงานออกแบบโดยฉะเพาะสถาปัตยกรรม แต่สิ่งที่ไกลกว่านั้น คือ มันเกี่ยวข้องกับคุณภาพของชีวิตทุกคนด้วย จะเป็นการช่วยส่งเสริมประสบการณ์ที่คุ้มค่า สั่งสมความรู้สึกและความทรงจำที่ดี และช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นหรือกับธรรมชาติรอบตัว แม้ว่าเท็คนิควิธีการออกแบบในแง่ความทรงจำจะสามารถผลิตได้อย่างมีประสิทธผลด้วยวิทยาการทางคอมพิวเตอร์ แต่การออกแบบด้วยความนึกคิดที่ดีงามและให้เกิดความเพิ่มพูนยิ่งขึ้นนั้นต้องอาศัยความสามารถของมนุษย์เท่านั้น ข้อสันนิษฐานในการนึกคิดโดยอาศัยจินตภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

Obstacles to creativity

เรียบเรียงจาก...http://members.ozemail.com.au/~caveman/Creative/Basics/obstacles.htm

อุปสรรคที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์
  • สาละวนและเอาใจใส่ต่อปัญหามากเกินไป
  • มีความขัดแย้งกันระหว่างเป้าหมายและวัตถุประสงค์
  • ไม่มีเวลาสำหรับการผ่อนคลายที่เพียงพอสำหรับตนเอง


สภาพการแข่งขันในปัจจุบันขัดขวางสิ่งเร้าให้เกิดผลการสร้างสรรค์ กังวลต่อความก้าวหน้าในการงาน โอกาสที่เกิดการงานที่ไม่มั่นคงอาจมีผลกระทบต่อสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการทำงานที่สร้างสรรค์ได้


อีกทั้งทางองค์กรธุระกิจพบว่าความคิดสร้างสรรค์ของลูกจ้างจะเกิดขึ้น ต่อเมื่อโครงสร้างการบริหารที่มีความลดหลั่นในตำแหน่งต่างๆลดน้อยลงและมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น


ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในกรณีอิทธิพลของสภาพแวดล้อม คือผู้มีความคิดสร้างสรรค์ได้อาศัยเหตุของความหรรษาและความสำเร็จโดยบังเอิญ นี่เป็นตัวอย่างในหลายอย่างเมื่อสภาพแวดล้อมช่วยส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์โดยการกระตุ้นทางการสังเกตุต่างๆ จากการศึกษาพบว่า สิ่งปรากฏในสภาพแวดล้อมขณะที่กำลังทำงานหนึ่งให้สำเร็จสามารถส่งผลให้เกิดความเข้าใจลึกซึ้งในงานต่อไปได้ทั้งที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน ยิ่งไปกว่านั้นมีประวัติศาสตร์ระบุไว้ว่า Zeitgeist จิตวิญญานแห่งเวลา การโน้มเอียงทางความคิดและความรู้สึกของช่วงเวลาหนึ่ง หรือ กลุ่มคนในช่วงเวลาของสมัยจะมีอิทธิพลกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นๆ


อุปสรรคส่วนมากที่มีผลกับความคิดสร้างสรรค์ของท่าน คือ

  • กลัวการวิจารณ์
  • ขาดความเชื่อมั่น
  • สภาพของร่างกายและจิตใจ (ตัวอย่างเช่นประสบการณ์ด้านลบต่างๆ)

สิ่งบดบังความคิดสร้างสรรค์ที่สำคัญคือความเชื่อว่าตัวเองไม่มีความสามารถที่สร้างสรรค์ได้เลย ลองมองในแง่นี้ โดยบอกตนเองว่า "ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ผู้หนึ่ง" แล้วท่านต้องเชื่อเกี่ยวกับตัวท่านที่สนับสนุนจุดเด่นนี้ ถ้าท่านบอกตัวเองว่า "ข้าพเจ้าเป็นเพียงแค่คนสามัญธรรมดา" ท่านก็จะมีความเชื่อไปกันคนละเรื่องเลย เมื่อท่านมีจุดเด่นเฉพาะและลักษณะความเชื่อในสิ่งนั้นกับตัวท่าน ท่านจะกลายเป็นผู้แสวงหาความสามารถที่ต้องการแสดงจุดเด่นและความเชื่อนี้ของท่านให้ปรากฏออกมา แต่ถ้าท่านเชื่อว่า "ท่านไม่มีความคิดสร้างสรรค์เอาเลย" ก็ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะเรียนรู้เพื่อให้ตัวท่านกลายเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ต่อไป


โปรดอ่าน..การยืนยันหรือการรับรอง หรือ Affirmations (ภาษาอังกฤษ) เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีกับตัวท่าน


ความคิดสร้างสรรค์มักถูกบดบังโดยสภาพแวดล้อมที่อึกทึกหรือน่าตื่นเต้นจนเกินไป ไม่ให้ความสงบและเวลาเพียงพอที่จะรำลึก ทบทวนหรือตรวจสอบความคิดได้ และยังถูกบดบังกับสิ่งต่อไปนี้ด้วย คือ:

  • สภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งต่อความรู้สึกใดๆ
  • ความต้องการผลสำเร็จทันทีทันใด
  • คำพูดที่เกี้ยวกราดรุนแรง (จากผู้อื่นหรือตนเอง)
  • จากกฏเกณฑ์ที่เคร่งครัดและข้อจำกัดมากมายขัดขวางการรวบรวมข้อมูล และ/หรือ การเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับสิ่งอื่นๆ

สื่อสารมวลชนที่ลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ก็จำกัดต่อความคิดสร้างสรรค์ได้ เช่นการให้เวลาน้อยต่อการหมกมุ่นในวัฒนธรรมสมัยใหม่ (ทีวีหรือการฟังเพลงสมัยใหม่) หรือยึดเอาการหยุดยั้งการฝึกฝนในการคิดสร้างสรรค์ที่ควรมีต่อโลกในทุกๆวัน


ปัจจัยอื่นที่ลดพฤติกรรมการสร้างสรรค์ยังรวมถึง:

  • ความเครียด.... จะกลายเป็นการบั่นทอนและลดพลังความคิดสร้างสรรค์ให้น้อยลง ยังเป็นสิ่งเลวร้ายต่อสุขภาพของคนเราอีกด้วย
  • กิจวัตรต่างๆ.... หรือขบวนการงานที่กระทำประจำนั้น มีประโยชน์ หากว่าทำให้มันกลายเป็นเพียงแค่ที่มั่นหนึ่งสำหรับชีวิต จำกัดความรับผิดชอบที่ไม่ให้สามารถนำไปสู่การพัฒนาการความชิงชังต่อความคิดสร้างสรรค์ "เป็นจิตใจแบบข้าราชการ"
  • ความเชื่อ.... การมีความเชื่อในบางสิ่งที่จริงจัง ไม่เพียงจำกัดต่อการตอบสนองทางเลือกอื่น ยังเป็นเหตุให้จำกัดวิธีการรับรู้และการประมวลข้อมูลจากโลกภายนอก เราอาจ "กรองทิ้ง" ข้อมูลที่ขัดแย้งความเชื่อของเรา แต่ให้สิ้นสุดที่ "อุโมงค์แห่งความจริง" ที่เราเป็นเจ้าของเท่านั้น ต้องมีเหลือไว้กับความสำราญใจในสิ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นตรงหน้าได้ด้วย
  • อัตตาตัวเอง (Ego).... การมีจุดเด่นที่อัตตาตัวเองกับความเชื่อพิเศษอาจทำให้ระคายเคืองในแง่ที่นำไปสู่ความก้าวร้างที่จะปกป้องมันไว้ ทำลายตัวเอง ความคิดสร้างสรรค์และสังคมของเราได้ นี่ไม่หมายว่าคนไม่ควรมีความเชื่อใดๆ เพียงแต่คนต้องใส่ใจและเอาใจใส่ต่อความเชื่อของเราและข้อจำกัดต่างๆที่อาจมีผลภายหลังด้วย
  • กลัว.... ความกลัวต่อการแสดงออกและการตัดสินของผู้อื่นสามารถกีดกันความคิดสร้างสรรค์ได้มากมาย
  • การวิจารณ์ตนเอง.... ความคิดในแง่ลบและวิจารณ์ตนเองเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จำกัดความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล


Return to Creativity Basics
Return to Creativity Web
Last updated: 4th August 1999

A Theory About Genius

ทฤษฎีเกี่ยวกับอัจฉริยบุคคล
โดยMichael Michalko

เกี่ยวกับผู้เขียน

Michael Michalko เป็นผู้ชำนาญทางความคิดสร้างสรรค์ผู้หนึ่ง เชี่ยวชาญในการฝึกอบรมความคิดสร้างสรรค์สำหรับองค์การต่างๆ เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Thinkertoys (คู่มือความคิดสร้างสรรค์ทางธุระกิจ) และเรื่อง ThinkPak (สำรับการระดมความคิด). หนังสือเล่มใหม่ของเขาคือ Cracking Creativity (ความลับของคนอัจฉริยะทางสร้างสรรค์) จะพิมพ์เสร็จในราวเดือน พฤษภาคม, 1998. ติดต่อและให้ข้อเสนอแนะเขาได้ที่ michalko@frontiernet.net.

อัจฉริยบุคคลสร้างความคิดต่างๆได้อย่างไร ? อะไรคือส่วนเหมือนของความคิดที่สร้างสรรค์ของภาพ "Mona Lisa," และการเกิดแพร่ขยายของทฤษฎีสัมพันธภาพ ? อะไรคือลักษณะประวัติศาสตร์ทางยุทธวิธีการคิดของ Einsteins, Edisons, da Vincis, Darwins, Picassos, Michelangelos, Galileos, Freuds, and Mozarts ? เราสามารถเรียนรู้อะไรบ้างจากเขาเหล่านั้น ?

เป็นเวลาหลายปีที่ผู้รู้และนักวิจัยพยายามศึกษาอัจฉริยบุคคลผ่านสถิติที่สำคัญ ด้วยข้อมูลกองโตที่จะบ่งบอกเรื่องนี้ การศึกษาอัจฉริยบุคคลในปี1904 ของเขา Havelock Ellis บันทึกไว้ว่า อัจฉริยบุคคลมักมีพ่ออายุราว 30 ปีและมีแม่อายุราว 25 ปีมักเจ็บป่วยตอนวัยเด็ก ผู้รู้อื่นรายงานว่าหลายคนมักเป็นโสด (เช่น Descartes), หลายคนกำพร้าพ่อ (เช่น Dickens) หรือกำพร้าแม่ (เช่น Darwin). ในที่สุดข้อมูลกองโตเหล่านี้ก็ไม่ได้มีประโยชน์อื่นใดเลย

ในทางการศึกษาพยายามเชื่อมโยงด้วยการวัดระหว่างความฉลาดกับความเป็นอัจฉริยะ แต่ความฉลาดอย่างเดียวไม่เพียงพอ Marilyn von Savant ผู้มี IQ สูงสุดถึง 228 ตามที่มีการบันทึกไว้ไม่เคยสร้างผลงานอะไรให้ปรากฏทั้งทางวิทยาศาสตร์และศิลปะ นอกจากการเป็นนักเขียนคอลัมท์ถาม-ตอบของนิตยสาร Parade เท่านั้น นักฟิสิกซ์ชนิดเข้ากรุหลายคนมีคะแนนความฉลาดสูงกว่าผู้ได้รางวัลโนเบลคือ Richard Feynman ซึ่งถือว่าเป็นอัจฉริยบุคคลชาวอเมริกันคนล่าสุด (เขามี IQ แค่ยอมรับได้เพียง 122).

อัจฉริยบุคคลไม่มีผลเกี่ยวกับคะแนน1600 ในการทดสอบความสามารถและทัศนะคติ (SAT) ซึ่งทดสอบเกี่ยวกับความสามารถในการรู้ภาษา ๑๔ ภาษาในระดับอายุ ๗ ขวบ ทำแบบฝึกหัด Mensa ด้วยเวลาที่รวดเร็ว การมีคะแนนความฉลาดที่สูงพิเศษ หรือแม้กระทั่งมีความปราดเปรื่อง หลังจากพิจารณาการโต้แย้งนำโดย Joy. P. Guilford นักจิตวิทยาการเรียนรู้ผู้เน้นความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในยุค 60's หลายคนสรุปตรงกันว่า ความคิดสร้างสรรค์ไม่เหมือนกับความฉลาด คนบางคนมีความคิดสร้างสรรค์ห่างกันกว่าเขาหรือเธอที่ฉลาด หรือมีคะแนนการทดสอบความฉลาดห่างกันจากคะแนนความคิดสร้างสรรค์

คนส่วนมากมีความฉลาดโดยเฉลี่ย สามารถจัดการข้อมูลหรือตอบสนองปัญหาได้ตามที่คาดหวังทั่วไป เช่นเมื่อถามว่า "อะไรคือครึ่งหนึ่งของ ๑๓ ?" คนส่วนมากตอบได้ทันทีว่า ๖ ครึ่ง ท่านเองก็เป็นเช่นเดียวกันกับคนทั่วไป

ปกติเรามักคิดในแง่การคิดซ้ำๆ กับปัญหาที่คล้ายปัญหาเดิมๆในอดีต เมื่อเราเผชิญปัญหาต่างๆ เราจะระลึกถึงคำตอบในอดีตที่ได้ผลมาแล้ว เรามักถามว่า "อะไรที่เคยคิด เคยเรียน หรือเคยทำมากับปัญหานี้ในชีวิต ?" แล้วเราก็วิเคราะห์เพื่อเลือกแนวคิดที่เหมาะสมตามประสบการณ์ในอดีต เว้นแนวทางอื่นออกไป และทำเฉพาะแนวคิดที่กระจ่างตรงไปที่คำตอบของปัญหานั้น เพราะเป็นขั้นตอนที่มั่นคงตามประสบการณ์ เรามักยะโสในข้อสรุปนี้เป็นความถูกต้องเสมอ

ในทางกลับกัน อัจฉริยบุคคลมักคิดใหม่ ไม่คิดซ้ำๆแบบเก่า เมื่อเขาเผชิญปัญหาเขามักถามว่า "มีแนวทางที่แตกต่างมากน้อยเพียงไรที่ข้าพเจ้าควรมองหา ?" "ข้าพเจ้าสามารถทบทวนความคิดที่พบได้อย่างไร ?" และ "จะมีวิธีอื่นอีกไหมที่จะแก้ปัญหานี้ได้ ?" แทนการกล่าวว่า "อะไรที่ข้าพเจ้าเคยถูกสอนมาให้แก้ปัญหานี้ ?" เขามักชอบตอบสนองที่ต่างจากธรรมดาทั่วไปและมักเป็นพิเศษ นักคิดใหม่ที่ก่อประโยชน์แบบนี้ (productive thinkers) มักกล่าวว่า มีวิถีทางที่แตกต่างมากมายในการตอบสนอง "๑๓" และการลดครึ่งที่แตกต่างกัน ดังแสดงตัวอย่างต่อไปนี้

(หมายเหตุ: ดังที่ท่านเห็น, ในการเพิ่มเติมค่า ๖ ครึ่ง โดยสนองตอบกับค่า ๑๓ ในลักษณะต่างๆกัน และการลดครึ่งในความแตกต่างนั้น อาจกล่าวได้ว่าครึ่งของ ๑๓ คือ ๖ ครึ่ง หรือ ๑ และ ๓ หรือ ๔ หรือ ๑๑ และ ๒ หรือ ๘ และ ฯลฯ)


ด้วยการคิดใหม่ ใครๆสามารถกำหนดทางเลือกได้มากมายเท่าที่จะกระทำได้ ท่านสามารถพิจารณาแนวทางที่เบลอได้เท่ากับแนวทางที่เด่นชัด มันเป็นความเต็มใจที่จะสำรวจแนวทางทั้งหมดเป็นสำคัญ แม้ว่าสิ่งที่พบเป็นแค่ความหวังเท่านั้น Einstein ครั้งหนึ่งเคยถูกถามว่า อะไรคือความแตกต่างระหว่างเขากับคนอื่นทั่วไป เขาตอบว่าถ้าท่านขอร้องให้คนทั่วไปหาเข็ม ๑ เล่มในกองฟาง เขาจะหยุดทันทีเมื่อเขาพบเข็ม ในทางกลับกัน เขาคนนั้นควรแหวกฟางต่อไปเพื่อค้นหาเข็มเล่มอื่นๆที่อาจมีอีกในกองฟางนั้น



ท่านอธิบายลวดลายที่ปรากฏในตัวอย่างนี้อย่างไร ? คนส่วนมากมองเห็นลวดลายเป็นรูปโครงร่างสี่เหลี่ยมที่ประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยม หรือรูปวงกลมหลายๆรูปเรียงต่อกันเป็นแถวๆสลับกันไป

มันไม่ง่ายที่จะมองเห็นเป็นแถวของเสาสี่เหลี่ยม หรือเสากลมต่างๆ แต่เมื่อมีคนบอกเราจึงเห็น นี่เป็นเพราะเรามักใช้ความเคยชินในการนำสิ่งที่เห็นไปเหมือนกับประสบการณ์ที่สั่งสมในใจของเราในอดีต อัจฉริยบุคคลมักไม่คิดและทำอะไรตามนิสัยเดิมๆ แต่จะมองทางเลือกอื่นๆเพื่อคิดและทำใหม่


เมื่อไรก็ตามที่ Richard Feynman ผู้เคยได้รางวัลโนเบล คิดไม่ออกกับปัญหาใดปัญหาหนึ่ง เขามักสร้างยุทธวิธีใหม่ๆทางความคิด เขารู้สึกว่าความเป็นอัจฉริยะของเขาเกิดจากความสามารถที่จะไม่อ้างถึงวิธีคิดของคนอื่นๆที่แล้วมากับปัญหานั้น เขากลับสร้างความคิดใหม่ขึ้นแทนที่ ดังนั้นเขาเลยไม่แยแสกับความคิดที่ไม่สามารถแก้ปัญหานั้นๆได้ เขาจะมองหาแนวทางที่แตกต่างมากมายจนกว่าจะพบการเปลี่ยนแปลงจินตนาการของเขา เขาช่างเป็นนักคิดใหม่เพื่อประโยชน์ทีเดียว

Feynman เสนอการสอนการคิดใหม่ๆ ในระบบการศึกษาของเราแทนการคิดแบบเดิมๆ เขาเชื่อว่าผู้ใช้คณิตศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จคือ ผู้ประดิษฐ์คิดค้นทางใหม่ของความคิดในสถานะการณ์นั้นๆ เขายังเชื่อต่อไปอีกว่าแม้แนวทางเดิมของความคิดคนอื่นที่เคยดีเด่น ก็ไม่ดีเท่ากับวิธีคิดที่เราเองสร้างขึ้นมา และเป็นแนวทางใหม่ที่สะท้อนมาจากการค้นพบของตนเอง

ปัญหา 29 + 3 ถูกพิจารณาว่าเป็นปัญหาของชั้นเรียนระดับสาม แต่เพราะมันต้องการวิธีการที่ก้าวหน้า Feynman ชี้ให้เห็นว่าชั้นเรียนระดับแรกการบอกจำนวนเลขนั้น เด็กคนหนึ่งสามารถเรียงจำนวนโดยการบอกจำนวนเลข 30, 31, 32. ด้วยวิธีการเว้นช่องว่าง-เป็นวิธีการที่มีประโยชน์อันหนึ่งในการเข้าใจเรื่องการวัดและเรื่องเศษส่วน เด็กสามารถเขียนจำนวนเลขมากในช่องและต่อด้วยจำนวนที่มากกว่า 10. ใช้นิ้วมือหรือวิชาพีชคณิต (2 คูณอะไรแล้วบวก 3 จึงจะได้7?). เขาสนับสนุนการสอนด้วยทัศนะคติที่คนถูกสอนควรค้นหาวิธีการแก้ปัญหาในแนวทางต่างๆโดยการลองผิดลองถูก

การคิดแบบเดิมๆเป็นการนำไปสู้ความคิดที่จำกัด นี่เป็นสาเหตุทำไมเราจึประสบความล้มเหลวเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาใหม่ๆ ซึ่งอาจมีความคล้ายคลึงกับประสบการณ์ในอดีตเพียงผิวเผินเท่านั้น การทำความเข้าใจปัญหาหรือกำหนดโดยอิงกับประสบการณ์เดิมทำให้ผู้คิดหลงทางได้ การคิดแบบเดิมมักนำเราไปสู้ความคิดธรรมดาๆไม่ใช่ความคิดริเริ่มใหม่ๆ ถ้าท่านคิดแบบที่เคยคิด ท่านจะได้ผลเป็นสิ่งเดิมๆด้วยเป็นความคิดเก่าๆ

ในปี ค.ศ.1968, ประเทศ Swiss ซึ่งเน้นอุตสาหกรรมนาฬิกา คนสวิสนั่นเองที่คิดประดิษฐ์นาฬิกาอิเล็คโทนิกขึ้นที่สถาบัน Neuchatel, ในประเทศ Switzerland เป็นครั้งแรก แต่โดนปฏิเสธโดยทุกโรงานทำนาฬิกาของชาวสวิส โดยพื้นฐานทางประสบการณ์ด้านอุตสาหกรรม เขาเชื่อว่ามันไม่สามารถจะเป็นนาฬิกาสำหรับอนาคตได้ ยิ่งไปกว่านั้นมันต้องอาศัยพลังงานจากแบ็ตเตอรี่ ไม่มีเพลาเหวี่ยง สปริง และเฟืองหมุน บริษัท Seiko ในประเทศญี่ปุ่นยอมรับความคิดนี้ในขณะที่โรงงานสวิสปฏิเสธ นำไปแสดงในงานนาฬิกาโลกจนเป็นที่นิยมทั่วโลกในตลาดนาฬิกาปัจจุบัน เมื่อบริษัท Univac คิดค้นด้านคอมพิวเตอร์ เขาปฏิเสธที่จะพูดคุยกับนักธุระกิจที่พยายามสอบถาม เพราะเชื่อว่าคอมพิวเตอร์สร้างขึ้นมาเพื่อนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น ไม่มีผลในแง่ทางธุระกิจ ตามด้วย บริษัท IBM. ซึ่งเชื่อในประสบการณ์เดิมที่ว่าในตลาดคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีโอกาสสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเลย จริงๆแล้วเขายังปักใจเชื่อไปอีกว่าจะมีคนเพียง ๕ หรือ ๖ คนเท่านั้นที่ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แล้วต่อมาก็บริษัท Apple. (ซึ่งเริ่มผลิตออกมาจนเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน)

โดยนัยธรรมชาติ กลุ่มยีนที่ไม่มีความแตกต่างจะไม่สามารถพัฒนาต่อการเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อถึงตอนนั้นการแปลงระหัสทางพันธุกรรมของความฉลาดก็จะถูกเปลี่ยนเป็นความโง่ ผลต่อเนื่องที่ตามมาคือเคราะห์กรรมของการคงอยู่แห่งมนุษยชาติ เราทุกคนมีความคิดต่างๆที่ถูกเก็บสะสมไว้ และแนวความคิดจากประสบการณ์ช่วยให้เราคงอยู่และรุ่งเรือง แต่เมื่อปราศจากการเพิ่มความคิดที่หลากหลายแล้ว ความคิดธรรมดาเดิมๆของเราก็จะกลายเป็นของเน่าเสีย เสียประโยชน์ไปในที่สุด เราก็จะเป็นผู้แพ้ในการแข่งขันของเรา

โปรดพิจารณาสิ่งต่อไปนี้:
  • ในปี 1899 Charles Duell, ผู้อำนวยการสำนักงานลิขสิทธ์ของ U.S.A. แนะนำว่ารัฐบาลควรปิดสำนักงานนี้ เพราะทุกสิ่งที่ถูกสรรสร้างแล้วควรถูกสรรสร้างขึ้นใหม่
  • ในปี 1923, Robert Millikan, นักฟิสิกซ์และเจ้าของรางวัลโนเบล บันทึกไว้ว่าไม่มีอะไรเด็ดขาดที่มนุษย์สามารถควบคุมอำนาจของอะตอม
  • Phillip Reiss, ชาวเยอรมันผู้หนึ่ง ได้สร้างเครื่องอุปกรณ์ที่สามารถส่งถ่ายเสียงเพลงได้ในปี 1861. หลายวันหลังจากการคิดสร้างระบบโทรศัพท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารในประเทศเยอรมันทุกคนแนะนำเขาว่าขณะนั้นไม่มีตลาดที่ดีพอสำหรับเครื่องโทรเลข ๑๕ ปีต่อมา Alexander Graham Bell สร้างเครื่องโทรศัพท์สำเร็จแล้วกลายเป็นเศรษฐีหลายร้อยล้านสำหรับลูกค้าชาวเยอรมันที่สนใจมากมาย
  • Chester Carlson คิดสร้างเครื่องถ่ายเอกสารได้ในปี 1938. บริษัทใหญ่เช่น IBM และKodak, ตำหนิความคิดของเขาจนหมดท่า พวกเขาอ้างว่าเพราะมีกระดาษคาร์บอนราคาถูกและมากมายใครจะมายอมซื้อใช้เครื่องถ่ายสำเนาราคาแพงเช่นนั้น
  • Fred Smith, ขณะที่เป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัย Yale, เจ้าของความคิด Federal Express,บริการส่งของทั่วประเทศภายในเวลาข้ามคืน ทาง U.S. Postal Service, UPS, และบริษัทที่อาจารย์ของเขาเป็นเจ้าของ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญในบริการนี้ทั่วประเทศ U.S., ตัดสินความกล้าได้กล้าเสียของเขาว่า น่าจะเป็นความล้มเหลวด้วยอาศัยประสบการณ์ทางด้านอุตสาหกรรมที่เชื่อว่าไม่มีใครยอมจ่ายค่าบริการแพงเพื่อความรวดเร็วและความน่าเชื่อถือนี้

เมื่อ Charles Darwin กลับประเทศอังกฤษหลังการไปเยี่ยมหมู่เกาะ Galapagos เขาส่งซากสัตว์นกกระจอกเทศตัวหนึ่งให้ผู้เชี่ยวชาญทางสวนสัตว์พิจารณา หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญคือ John Gould. สิ่งที่เปิดเผยออกมาไม่ใช่สิ่งที่ Darwin สนใจแต่กลับเป็นสิ่งที่ตัว Gould เองสนใจต่างหาก


บันทึกของ Darwin ทำให้ Gould เข้าใจและสนใจเพียงแค่รายชื่อของพวกนกเท่านั้น เขาตรวจสอบจำนวนที่แตกต่างทางเผ่าพันธ์ของนกกระจอกเทศกลับไปกลับมา ซึ่งมีข้อมูลอยู่ในบันทึกนั้น แต่เขาไม่รู้ถึงอะไรอื่น เขาตั้งข้อสันนิษฐานเอาว่าพระเจ้าสร้างนกแต่ละชนิดในคราวสร้างโลก ดังนั้นซากของมันแม้ได้มาจากสถานที่ต่างกันก็ย่อมเหมือนกัน เขาจึงไม่สนใจความแตกต่างของสถานที่ Gould คิดว่านกที่แตกต่างกันเนื่องมาจากเผ่าพันธ์เท่านั้น


ข้อสังเกตุคือว่าสิ่งที่ที่พบนั้นมีผลแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงของบุคคลทั้งสอง Gould คิดตามในสิ่งที่เขาตั้งเงื่อนไขในการคิด เหมือนผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาษีทั้งหลาย คือไม่ได้มองบันทึกในแง่ของวิวัฒนาการที่ถูกต้องมาก่อนที่จะเห็นพวกนกกระจอกเทศเหล่านั้น. Darwin เสียอีกที่ไม่รู้ว่าซากนั้นเป็นนกกระจอกเทศ เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าบุคคลที่มีความฉลาดมีความรู้และความชำนาญมักมองไม่เห็นสิ่งที่ตนไม่เคยเห็น รวมทั้งบุคคลที่มีความรู้และความชำนาญน้อยกว่ากลับสร้างกรอบความคิดและแนวทางให้พวกเราคิดและเข้าใจโลกในขณะนี้

ข้าพเจ้าประทับใจต่อทฤษฎีวิวัฒนาการของ Darwin เสมอ เพราะการเลือกทางธรรมชาติกลายเป็นความฉงนต่อความพยายามทางวิชาการที่จะสะท้อนความคิดของเขาในแง่ความคิดสร้างสรรค์และอัฉริยภาพ ในมุมมองของข้าพเจ้าเกี่ยวกับอัฉริยภาพมีรากฐานความเข้าใจมาจากความแตกต่างที่มองไม่เห็นและการเลือกที่สั่งสมมาเดิมๆของ Donald Campbel ซึ่งเป็นแบบจำลองทางความคิดสร้างสรรค์ที่เขาพิมพ์เผยแพร่ในปี 1960. Campbell ไม่ใช่คนแรกที่เห็นความเกี่ยวข้องระหว่างความคิดของ Darwin เรื่องวิวัฒนาการกับความคิดสร้างสรรค์ เริ่มแรกในปี 1880 นักปรัชญาที่มีชื่อชาวอเมริกัน William James เขียนบทความเรื่อง "Great Men, Great Thoughts, and the Environment," อ้างความเกี่ยวข้องระหว่างความคิดของ Darwin กับอัฉริยภาพ ผลงานของ Campbell ได้ถูกนำมาอ้างถึงในงานวิชาการมากมายต่อมารวมทั้งงานของ Dean Keith Simonton และ Sarnoff Mednick.


จากผลงานเหล่านี้ นักวิชาการส่วนมากแนะนำว่า อัฉริยะภาพเกิดมาจากทฤษฎีวิวัฒนาการทางชีววิทยาของ Darwin ธรรมชาติเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์เป็นสำคัญ ธรรมชาติสร้างให้เกิดความเป็นไปได้ผ่านการลองผิดลองถูก แล้วปล่อยเลยให้เป็นขบวนการเลือกสรรทางธรรมชาติว่าเผ่าพันธ์ไหนจะคงมีอยู่ต่อไป ในธรรมชาติมีจำนวนถึง 95% ของเผ่าพันธ์ใหม่ๆที่ล้มเหลวและหมดสิ้นการวิวัฒนาการในช่วงเวลาสั้นๆ


อัฉริยภาพเปรียบได้กับวิวัฒนาการทางชีววิทยา ต้องการการแพร่ขยายที่ทำนายไม่ได้เพราะเต็มไปด้วยทางเลือกและความเห็นที่หลากหลายต่างๆนานา บนทางเลือกและความเห็นเหล่านี้ การรักษาความคิดที่ดีที่สุดไว้อย่างชาญฉลาดจะช่วยการพัฒนาและการสื่อสารต่อๆไป ความคิดที่สำคัญของทฤษฎีนี้คือว่า ท่านต้องมีวิธีการในการสร้างความแตกต่างทางความคิดของท่าน ความแตกต่างที่มองไม่เห็นเกิดมาจากการสั่งสมความรู้ที่ไม่เกิดประโยชน์ใดๆไว้

อัฉริยบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สร้างทางเลือกและความเห็นมากมายอย่างไร ? ทำไมหลายความคิดของเขาดีและแตกต่าง ? เขาสร้างความแตกต่างที่มองไม่เห็นไปสู่การริเริ่มและแปลกใหม่ได้อย่างไร ? นักวิชาการรุ่นใหม่ได้รับมรดกทางหลักฐานที่สามารถแยกแยะวิธีคิดของอัฉริยบุคคลได้ จากบันทึกส่วนตัว การโต้ตอบ การสนทนา และความคิดต่างๆของนักคิดที่ยิ่งใหญ่ของโลก สิ่งเหล่านี้จะสะท้อนวิธีการคิดที่ไม่ธรรมดา เป็นรูปแบบการคิดที่ทำให้อัฉริยบุคคลสามารถสร้างความคิดริเริ่มและแปลกใหม่ที่อัศจรรย์ให้เกิดขึ้น

ยุทธวิธีต่างๆ

ต่อไปนี้เป็นการอธิบายโดยสังเขปถึงยุทธวิธีทางการคิดและรูปแบบการคิดสร้างสรรค์ของอัจฉริยบุคคลทางสาขาวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และอุตสาหกรรมในอดีตที่ผ่านมา



อัจฉริยบุคคลมองปัญหาในแนวทางที่แตกต่าง

อัจฉริยบุคคลมักค้นพบในสิ่งที่ไม่มีใครอื่นพบมาก่อน Leonardo da Vinci เชื่อว่าความรู้เกิดมาจากปัญหาต่างๆ ท่านต้องเริ่มการเรียนรู้โดยการทบทวนหรือจัดโครงสร้างของปัญหาเหล่านั้นเสียใหม่ เรารู้สึกว่าการมองปัญหาครั้งแรกเกิดขึ้นโดยมีอคติมองตามความเคยชิน เขาจึงมักปรับเปลี่ยนปัญหาโดยมองในลักษณะอื่นที่ต่างจากเดิมเรื่อยๆไป ในแต่ละครั้งที่มองปัญหาต่างไป ก็จะค่อยๆเริ่มเข้าใจประเด็นของปัญหานั้นได้ชัดแจ้งยิ่งขึ้น ทฤษฎีทางสัมพันธภาพของ Einstein มีสาระคือการอธิบายความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันในแง่มุมทั้งหลายที่แตกต่างกัน วิธีการจิตวิเคราะห์ของ Freud ออกแบบมาเพื่อค้นหารายละเอียดที่ไม่อาจพบได้ด้วยวิธีการที่มีมาก่อนอันนำไปสู่แนวคิดใหม่ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ผู้คิดต้องเลิกล้มความเกี่ยวข้องกับประสบการณ์เดิมและปรับแนวคิดในปัญหานั้นเสียใหม่ การไม่ยึดติดในมุมมองหนึ่งใดนั้น อัจฉริยบุคคลไม่เพียงแต่แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ขณะนั้นเท่านั้น เขายังสร้างสถานการณ์แวดล้อมอื่นเป็นเครื่องสนับสนุนขึ้นอีกด้วย เขากำหนดสิ่งใหม่ต่างๆ ไม่ใช่แค่การวิเคราะห์ความฝันทั้งหลายแหล่ แต่เสมือนเป็นอย่างที่ Freud มักถามเป็นเบื้องต้นเกี่ยวกับความฝันที่มีความหมายทั้งหลายที่อุบัติในจิตใจของเรา

อัจฉริยบุคคลทำความคิดของเขาให้ประจักษ์

การแพร่สะพัดของความคิดสร้างสรรค์ในยุค Renaissance มีบันทึกความรู้มากมายที่ทั้งภาษาเขียนและภาษาภาพ เช่นงานของ Da Vinci และ Galileo. ที่ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่แสดงความคิดชัดเจนในรูปภาพของไดอะแกรม แผนที่ ภาพวาด ขณะที่คนในสมัยนั้นใช้เพียงภาษาคณิตศาสตร์และการอธิบายด้วยคำพูดเท่านั้น

คราวใดที่อัจฉริยบุคคลอาศัยคำพูดช่วยการอธิบายน้อยลง เขาจะพัฒนาความสามารถในเชิงทัศนวิสัยและความสามารถรอบตัวเพื่อเปิดเผยข้อมูลในวิธีการต่างๆ เมื่อ Einstein เผชิญปัญหาใด เขาจะจัดการในวิธีการต่างๆที่หลากหลายเท่าที่กระทำได้ รวมทั้งการทำภาพไดอะแกรม เขามีความคิดเป็นรูปทัศน์ เห็นภาพของปัญหาในหลายมิติ ไม่จำกัดที่ภาษาทางคณิตศาสตร์และการอธิบายด้วยคำพูดเท่านั้น แม้ว่าคำพูดและตัวเลขเป็นเรื่องสำคัญช่วยการเขียนและการพูด แต่มันก็ไม่เป็นสิ่งที่เลอเลิศเพียงอย่างเดียวในขบวนการคิดของเขาเสมอไป
หนึ่งในการพรรณาที่สมบูรณ์ในปรัชญาของ Einstein ที่พบในจดหมายถึงเพื่อนของเขา Maurice Solovine ในจดหมายนั้น Einstein อธิบายความยากในการใช้คำพูดเพื่ออธิบายปรัชญาวิทยาศาสตร์ของเขา เพราะกระทำได้เพียงคร่าวๆเท่านั้น ในจดหมายเริ่มด้วยภาพง่ายๆประกอบด้วย (1) เส้นตรงที่แทนอักษร E (experiences), ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับเรา และ (2) A (axioms), หรือความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์ ซึ่งวางไว้เหนือเส้นตรงนั้นคือไม่เชื่อมกันโดยตรงกับ E


(หมายเหตุ: นี่เป็นประมาณการจากภาพต้นฉบับของ Einstein ในแหล่งเก็บเอกสารของเขาที่มหาวิทยาลัยฮิบรูแห่งนครเจรูซาเล็ม ประเทศอิสราเอล)

Einstein อธิบายในแง่จิตวิทยาที่ A อยู่เหนือ E แต่ไม่เป็นนัยทางเหตุผลเชื่อมโยงจาก E ถึง A แค่เพียงการเชื่อมต่อเป็นนัยๆเท่านั้น สามารถลบล้างได้เสมอ จากความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์เหล่านี้ (A, axioms) สามารถพิจารณาลงความเห็นโดยหลักทั่วไปเพื่อไปสู่เรื่องเฉพาะได้ (S) การลงความเห็นนี้ถือสิทธ์เป็นความถูกต้องได้เลย สาระนี้ Einstein กล่าวว่ามันเป็นทฤษฎีที่กำหนดสิ่งที่เราสังเกต เขาแย้งว่าความคิดทางวิทยาศาตร์เป็นเพียงการคาดคะเนหรือเดาเอาเท่านั้น นอกจากผลลัพท์สุดท้ายที่นำไปสู่ระบบใดระบบหนึ่งที่บ่งชี้ถึงลักษณะของเหตุผลที่ง่ายๆ (logical simplicity) เพราะคำพูดไม่สามารถที่จะอธิบายให้เกิดความพอใจได้ Einstein จึงมักทำความคิดของเขาให้ปรากฏด้วยการเขียนภาพไดอะแกรมแสดงสาระและคุณลักษณะที่สำคัญในปรัชญาของเขา

ผลผลิตของอัจฉริยบุคคล

คุณลักษณะที่แตกต่างของอัจฉริยบุคคลคือผลผลิตที่มากมาย Thomas Edison มีสิทธบัตรของความคิดถึง1,093 ชิ้น เขารับรองสิ่งผลิตที่เป็นส่วนของตนเองและส่วนของผู้ช่วยของเขา ในส่วนของเขามีสิ่งคิดค้นเล็กๆในทุก 10 วัน และในสิ่งสำคัญๆในทุกหกเดือน Bach ประพันธ์เพลงได้ ทุกสัปดาห์แม้ขณะที่เขาป่วยและเหน็ดเหนื่อย Mozart ประพันธ์เพลงได้ถึง 600 เพลง Einstein มีชื่อจากบทความเรื่องสัมพันธภาพ แต่มีบทความอื่นที่ตีพิมพ์ถึง 248 เรื่อง T.S. Elliot มีจำนวนร่างของบทประพันธ์ "The Waste Land" ทั้งที่ปนเปดีบ้างไม่ดีบ้างมากมายก่อนกลายเป็นผลงานที่เป็นเลิศ ในการศึกษานักวิทยาศาสตร์จำนวน 2,036 คนในประวัติศาสตร์ คณบดี Kean Simonton มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเดวิส พบว่าส่วนมากไม่เพียงแต่คิดค้นงานสำคัญ แต่ก็ยังมีงานห่วยๆอีกมากด้วย จากผลงานที่มีปริมาณนำไปสู่ผลงานที่มีคุณภาพของอัจฉริยบุคคลในที่สุด

อัจฉริยบุคคลสร้างการผสมผสานที่แปลกใหม่

คณบดี Keith Simonton เขียนหนังสือเรื่องของอัจฉริยบุคคลทางวิทยาศาสตร์ในปี 1989 แนะนำว่าความเป็นอัจฉริยะเกิดขึ้นเพราะเขาเหล่านั้นมีความสามารถสรรสร้างการผสมผสานที่แปลกใหม่เหนือความปราดเปรื่องอื่นใด ทฤษฎีของเขาเกี่ยวข้องทางนิรุกติศาสตร์ เช่นคำว่า cogito--"ข้าพเจ้าคิดว่า-มีความหมายเริ่มแรกคือเขย่าเข้าด้วยกัน "shake together": intelligo เป็นรากศัพท์ของ "intelligence" หมายถึงเลือกเอามา "select among." นี่เป็นเป็นลางสังหรณ์แรกเกี่ยวกับประโยชน์ของการยอมรับความคิดที่สุ่มเอามาจากความคิดต่างๆและประโยชน์ที่ได้รับจากการเลือกสรรมาจากสิ่งที่เคยสะสมไว้ก่อน เหมือนเด็กเล่นการต่อรวมของชิ้น Legos อัจฉริยบุคคลมักเอาความนึกคิด จินตภาพ และความคิดต่างๆมารวมกันหรือจัดรวมกันเสียใหม่ทั้งด้วยความมีสำนึกและไร้สำนึกในจิตใจ ลองพิจารณาสมการของ Einstein, E=mc2. Einstein ไม่ได้สร้างแนวความคิดใหม่ๆของ พลังงาน มวล และความเร็วของแสง หากแต่เป็นการรวมแนวความคิดเดิมๆของสิ่งเหล่านี้ในวิธีใหม่ เขามองเห็นเช่นเดียวกันกับคนอื่นแต่มีบางสิ่งที่แตกต่างกันเท่านั้น กฎทางกรรมพันธ์ ที่นักพันธุกรรมสมัยใหม่กำหนดนั้นก็มีรากฐานมาจากกฎเดิมของ Gregor Mendel แต่หากเขาผสมผสานวิชาคณิตศาสตร์และชีววิทยาเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นวิทยาศาสตร์ในแนวทางใหม่ขึ้น

อัจฉริยบุคคลเน้นความสัมพันธ์กันและกัน

หากมีรูปแบบพิเศษสำหรับความคิดของอัจฉริยบุคคล มันคือความสามารถที่สร้างความเคียงกันของสิ่งที่แตกต่างกันได้ เรียกได้ว่าเป็นความสะดวกในการเชื่อมโยงในสิ่งที่ไม่เคยถูกโยงกันมาก่อน ทำให้เห็นในสิ่งที่ไม่มีใครเห็นมาก่อน Leonardo da Vinci เน้นความสัมพันธ์กันระหว่างเสียงของระฆังกับเสียงหินกระทบน้ำ การกระทำดังนี้ทำให้เขาค้นพบเสียงเดินทางเป็นคลื่นต่างๆ ในปี1865 F.A. Kekule พบรูปร่างของโมเลกุลเบ็นซิลโยงกันเป็นเหมือนรูปงูกินหางโดยบังเอิญ Samuel Morse งงอยู่เป็นนานในความพยายามที่จะค้นหาสัญญาน โทรเลขที่แรงพอจะรับได้ระหว่างคาบฝั่งมหาสมุทรหนึ่งๆ วันหนึ่งเขาเห็นม้าเทียมรถถูกสัปเปลี่ยนระหว่างสถานีทำให้ได้ความคิดเช่นการส่งของสัญญานโทรเลขให้มีกำลังแรงขึ้นได้สำเร็จ คำตอบคือให้สัญญานชนิดสืบทอดกัน เดินทางเป็นช่วงๆสลับการเร่งเพิ่มกำลังของสัญญานนั้นๆ Nickla Tesla เน้นการเชื่อมโยงกันระหว่างการหมุนเวียนขึ้นตกของดวงอาทิตย์และเครื่องยนต์ที่เป็นชนิด AC โดยใช้สนามแม่เหล็กเป็นตัวสร้างการหมุนแบบต่อเนื่องเหมือนการขึ้นตกของดวงอาทิตย์

อัจฉริยบุคคลคิดตรงข้าม

นักฟิสิกซ์และนักปรัชญา David Bohm เชื่อว่าอัจฉริยบุคคลสามารถคิดได้แตกต่างมากมาย เพราะเขาอดทนต่อสิ่งที่รุมล้อมระหว่างข้อขัดแย้งและเรื่องราวที่ไม่ลงรอยกันได้ Dr. Albert Rothenberg นักค้นคว้าทางกระบวนการคิดสร้างสรรค์ผู้หนึ่ง กำหนดความสามารถนี้เป็นคุณสมบัติหนึ่งของอัจฉริยบุคคลเช่น Einstein, Mozart, Edison, Pasteur, Joseph Conrad, และ Picasso ในหนังสือของเขาชื่อ The Emerging Goddess: The Creative Process in Art, Science and Other Fields เขียนในปี 1990. นักฟิสิกซ์ Niels Bohr เชื่อว่าถ้าท่านยึดเอาสิ่งที่ขัดแย้งมารวมกันไว้ได้ จะช่วยให้ท่านชลอความคิดและจิตใจเดิมๆให้เคลื่อนจากไปสู่รูปแบบใหม่ต่อไปได้ การเอาความขัดแย้งหรือสิ่งตรงกันข้ามมาปั่นรวมกันจะสร้างเงื่อนไขสำหรับมุมมองใหม่และปล่อยจิตใจให้เป็นอิสระขึ้น ความสามารถในการจินตนาการของ Bohr ในเรื่องแสงสว่างที่ประกอบด้วยอนุภาคเล็กและคลื่นแสงนำไปสู่หลักของการประกอบกันเป็นองค์สมบูรณ์ ( the principle of complementarity) ของเขา. Thomas Edison สร้างระบบไฟฟ้าแสงสว่างในแง่ปฏิบัติ โดยการรวมระบบสายไปแบบวงจรขนาน กับความต้านทานสูงของใส้ในหลอดไฟฟ้าของเขา สิ่งทั้งสองอย่างนี้ไม่เคยมีการพิจารณามาก่อน เพราะในข้อเท็จเดิมที่เข้ากันไม่ได้เลย แต่ทว่า Edison กลับสามารถทนต่อกระแสความขัดแย้งของสองสิ่งนี้ได้ จึงทำให้เขาสามารถค้นพบความสัมพันธ์ที่มีประโยชน์ในที่สุด

อัจฉริยบุคคลมักคิดเชิงอุปมา

Aristotle พิจารณาการอุปมาเป็นสิ่งบอกหนึ่งของอัจฉริยบุคคล เชื่อว่าคนที่สามารถรับรู้ระหว่างสองสิ่งที่แตกต่างกันแล้วนำมาผสมผสานกันได้น่าจะเป็นคนที่มีพรสวรรค์อย่างหนึ่ง ในสิ่งที่ไม่เหมือนกันแท้จริงแล้วมักมีอะไรเหมือนกันในบางอย่างเสมอ Alexander Graham Bell สังเกตุการเปรียบเทียบกันระหว่างกลไกการทำงานภายในหู กับ การเคลื่อนไหวของชิ้นส่วนเแผ่นผืนที่แข็งแรงสามารถเคลื่อนเหล็กได้นำไปสู่ความคิดของเครื่องโทรศัพท์ Thomas Edison สร้างเครื่องหีบเสียงได้ในวันหนึ่งหลังจากการอุปมาอุปมัยระหว่าง กรวยของเล่นเด็ก กับ การเคลื่อนไหวของคนกระดาษและการสั่นเสทือนของเสียง โครงสร้างใต้น้ำคิดค้นจากการสังเกตุการสร้างท่อต่อเนื่องกันเป็นอุโมงค์ยาวในไม้ของหนอนทะเล Einstein ได้รับการอธิบายหลักการแง่นามธรรมต่างๆของเขา จากการวาดภาพเชิงเปรียบเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้นประจำวัน เช่น การพายเรือ หรือการยืนบนชานชลาขณะที่รถไฟแล่ยผ่านเลยไป

อัจฉริยบุคคลเตรียมตัวเองสำหรับโอกาส

เมื่อไรก็ตามที่เราพยายามทำสิ่งใดแล้วล้มเหลว เราจะเลี่ยงไปทำอย่างอื่น อาจกล่าวได้ว่าหลักการแรกของความคิดสร้างสรรค์คือความบังเอิญ เราอาจถามตัวเองว่าทำไมความล้มเหลวเกิดขึ้นในสิ่งที่เราตั้งใจทำ นี่เป็นเหตุผลต่อสิ่งที่คาดหวัง แต่ความบังเอิญที่สร้างสรรค์กระตุ้นให้เกิดคำถามที่แตกต่าง เช่น เราได้ทำอะไรไปแล้ว ? จงตอบคำถามนี้ใหม่ ในแนวทางที่ไม่ได้นึกถึงมาก่อนจะให้ประโยชน์ในการกระทำที่สร้างสรรค์ได้ มันไม่ใช่เพราะโชค แต่จากการที่อุบัติขึ้นมาอย่างสร้างสรรค์และมีระเบียบสูงส่ง Alexander Fleming ไม่ใช่นักฟิสิกซ์คนแรกที่สังเกตุเห็นการขึ้นรากลายเป็นรูปแบบการเพาะเลี้ยงจากการศึกษาแบ๊คทีเรียที่ตายแล้ว นักฟิสิกซ์ธรรมดาทั่วไปมักละเลยความสัมพันธ์นี้ไป ในขณะที่ Fleming เห็นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และประหลาดใจต่อความเป็นไปได้นี้ การสังเกตุเห็น "ความน่าสนใจ" นี้นำไปสู่การคิดค้นยาเพนนิซิลินที่ช่วยเหลือคนนับล้าน Thomas Edison ขณะนึกถึงการทำเส้นใยคาร์บอน เขาปล่อยใจกับการบีบชิ้นดินน้ำมันของเล่นไปมาบนนิ้วมือ เมื่อก้มลงมองมาที่มือคำตอบเกิดขึ้นทันทีในสายตาคือการบิดเกลียวของใยคาร์บอนเหมือนเส้นเชือก. B.F. Skinner เน้นหลัการเบื้องต้นของวิธีการวิทยาศาสตร์คือ เมื่อท่านพบบางสิ่งที่น่าสนใจ ให้หยุดสิ่งอื่นๆเสียแล้วมาใส่ใจกับสิ่งนั้นแทน หลายสิ่งปิดกั้นโอกาศที่จะได้คำตอบในขณะที่เขาเลิกล้มความคิดเดิมที่กำหนดไว้ล่วงหน้า อัจฉริยบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ไม่รอคอยสิ่งที่ต้องการตามโอกาส แต่เขาจะแสวงหาการค้นพบโดยความบังเอิญ

บทสรุป

การระลึกถึงยุทธวิธีการคิดทั่วไปของอัจฉริยบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ แล้วนำมาประยุกต์กับตัวท่านจะช่วยทำให้งานและชีวิตของท่านมีการสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น เขาเหล่านั้นมีความเป็นอัจฉริยะก็เพราะเขารู้ว่าจะคิดอย่างไร แทนการคิดอะไร ในปี 1977 นักสังคมวิทยา Harriet Zuckerman พิมพ์เผยแพร่งานศึกษาของเขาเกี่ยวข้องกับผู้เคยได้รับรางวัลโนเบล และอยู่อาศัยในประเทศสหรัฐอเมริกา หล่อนพบว่าศิษย์จำนวนถึง ๖ คนของ Enrico Fermi เป็นผู้ได้รับรางวัลนี้ Ernst Lawrence และ Niels Bohr แต่ละคนมีศิษย์จำนวน ๔ คน. J.J. Thompson และ Ernest Rutherford เป็นสองคนในจำนวนนั้น และยังเคยฝึกผู้ได้รับรางวัลโนเบลได้ถึง ๑๗ คน นี่ไม่ใช่ความบังเอิญ มันเห็นได้ชัดว่าผู้เคยได้รับรางวัลโนเบลเหล่านี้ ไม่แค่เป็นผู้มีความสามารถด้วยตนเองเท่านั้น แต่ยังสอนผู้อื่นถึงการคิดอย่างสร้างสรรค์ได้อีกด้วย กลุ่มตัวอย่างของ Zuckerman พิสูจน์ให้เห็นว่า อิทธิพลทางความคิดสร้างสรรค์ได้มาจากครูผู้สอนให้เขาคิดในรูปแบบและยุทธวิธีที่แตกต่างหรือการคิดอย่างไรมากกว่าการคิดอะไร

This page is Copyright (C) 1998 Michael MichalkoLast updated: 15th March 1998

Creativity-Kick-Starts

เรียบเรียจาก..http://members.ozemail.com.au/~caveman/Creative/Basics/kickstart.htm

การเริ่มต้นความคิดสร้างสรรค์ของท่าน

  • การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดเสมือนเป็นการเดินทางตลอดชีวิต แต่เมื่อท่านเจอเว็บไซท์นี้และต้องการ เริ่มต้นรวดเร็ว


บันทึกหน้านี้จะให้คำแนะนำด้วยประสบการณ์ของผู้เขียนตลอดเวลาสองสามปีที่แล้วมา

1.การเขียนบันทึก

  • เอาสมุดบันทึกขนาด A4 (8 x 11 inch) เพื่อใช้เขียนบันทึกรายวันของท่าน ทุกๆเช้าเมื่อท่านตื่นขึ้นมา จงเขียนเกี่ยวกับ อะไรก็ได้ ให้มีความยาวสักสามหน้ากระดาษ ปกติท่านจะเขียนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้กระทำในวันที่ผ่านมา ความคิด ความฝัน ปัญหา ความคิดเรื่อยเปื่อย ท่านอาจต้องตื่นนอนล่วงหน้าราว ๓๐ นาฑีเพื่อใช้เวลาเขียนบันทึกประจำวันนี้
  • ข้อมูลเพิ่มเติมหาอ่านได้ในหนังสือของ Julia Cameron เรื่อง The Artists Way, และของ Dorothea Brande เรื่อง Becoming a Writer.

2. รับป้อนสิ่งใหม่ๆ

  • จิตใจต้องการการกระตุ้น ความรู้สึกต่างๆของท่านถูกเก็บไว้ในความทรงจำ โดยการทำจิตใจให้สดชื่นในแต่ละวัน ความทรงจำของท่านจะถูกปล่อยออกมาและเชื่อมโยงกับการรับป้อนสิ่งใหม่เสมอ บางครั้งท่านอาจได้รับความคิดที่ให้คุณประโยชน์อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
  • ทำอย่างไรท่านถึงได้รับการป้อนสิ่งใหม่ๆนี้ ? จงทำสิ่งใหม่ในแต่ละวัน ฟังวิทยุต่างสถานีที่เคยฟัง ไปเดินเล่นสบายๆตามศูนย์การค้า คอยเปิดตา หู ปาก และจมูกสัมผัสสิ่งต่างๆ
  • อย่าลืมเอาสมุดบันทึกไปด้วย หรือเครื่องบันทึกรายงานความคิดต่างๆของท่านระหว่างวัน

3. หมั่นเขียนบันทึก

  • เขียนเพิ่มเติมต่อจากสามหน้าที่เขียนไว้ทุกเช้า เอาบันทึกติดตัวไว้ เสมอ ผู้เขียนขอแนะนำว่าให้ใช้ชนิดสมุดบันทึกปกแข็งขนาด A5 จะเป็นแบบมีเส้นบันทัดหรือไม่มีก็ตาม (จากร้านขายเครื่องเศิลป์) อย่าลืมนำปากกาหรือดินสอไปกับสมุดบันทึกนี้ด้วย ท่านอาจต้องการแบบสี่สีมีรวมในด้ามเดียวที่ผลิตโดย Bic.
  • ใช้การเขียนบันทึกความคิด ความเห็นต่างๆที่ได้จากการสังเกตุของท่านระหว่างวัน บันทึกคำกล่าว จดข้อสันนิษฐานที่สร้างสรรค์ หรือจดวิธีการที่ใช้ทั้งสัปดาห์นั้น ทำบันทึกให้เหมือนเป็นเพื่อนถาวรของท่าน


4. เรียนรู้วิธีการสร้างสรรค์ใหม่ๆในแต่ละสัปดาห์

  • เขียนวิธีการต่างๆแยกไว้เป็นหน้าดรรชนีต่างหากในสมุดบันทึกของท่าน และนำไปใช้ปฏิบัติเมื่อมีโอกาส เหมือนเรียนการใช้คำศัพท์ใหม่ๆของภาษาต่างประเทศ ท่านอาจต้องฝึกวิธีใช้มันจนเสมือนเป็นภาษาที่สองของท่าน
  • ท่านจะเรียนรู้วิธีการที่ไหน บางวิธีการมีบอกในเว็บไซท์นี้ แต่ท่านควรอ่านเพิ่มในหนังสืออื่น อย่างเช่นของ Michael Michalko เรื่อง Thinkertoys, ของ Arthur VanGundy เรื่อง Brain Boosters for Business Advantage, ของ Robert Alan Black เรื่อง Broken Crayons หรือของ James Higgins เรื่อง 101 Creative Problem Solving Techniques.


5. ผ่อนคลาย!

  • ลองใส่หูฟัง แล้วนอนฟังเพลงบนพื้นห้อง นั่งอาบแดดข้างนอกเฉยๆโดยไม่ต้องทำอะไรเลย เดินเล่นหรือขี่จักรยานสบายๆ หรือไปว่ายน้ำ มันเป็นเรื่องสำคัญที่ท่านต้องให้เวลาสำหรับคลี่คลายและยอมให้จิตใต้สำนึกของท่านทำงานของมันบ้าง ท่านอาจได้ความคิดขณะอาบน้ำ หรือขณะขับรถเพลินๆโดยไม่ได้คาดหวังไว้ก่อน แต่มันเกิดขึ้นได้จริงๆ


6. เรียนรู้โดยการวาดภาพ

  • ใช้วิธีของ Betty Edwards ในหนังสือชื่อ Drawing on the Right Side of the Brain เพื่อสอนการวาดภาพด้วยตนเอง มันเป็นหนังสือที่ดีเล่มหนึ่ง และท่านจะเรียนรู้ทักษะที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้และยังเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้โลกรอบตัวของท่านด้วย หนังสืออีกเล่มที่ควรพิจารณาคือ Experiences in Visual Thinking เขียนโดย Robert McKim เช่นเดียวกับหนังสือการ์ตูนจำนวนหนึ่ง เช่น The Cartoonist's Workbook ของ Robin Hall


7. เรียนการวาดภาพในใจ

  • การทำรายการโดยการเขียนไม่ใช่เครื่องมือที่ดีที่สุดในการวางแผน จดบันทึก หรือแพร่ความคิด ควรลองใช้วิธีวาดภาพในใจแทน (Mind Mapping) ใช้ปากกาหลากสี กระดาษแผ่นใหญ่ ลอกแบบรูปสัญลักษณ์ของ Tony Buzan's. ปรับปรุงด้วยรูปสัญลักษณ์ของท่านเอง รูปภาพและรูปศัพท์อื่นสำหรับบอกภาพในใจของท่าน การเขียนอาศัยกลไกของสมองด้านซ้าย แต่การเขียนภาพในใจใช้ส่วนสมองด้านขวาด้วยสีสรรและข้อมูลที่เห็นเป็นภาพ มีหนังสือหลายเล่มที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่นของ Joyce Wycoff (USA) และ ของ Dilip Mukerjea (Singapore). การสร้างวาดภาพในใจมีประโยชน์เพราะประเด็นต่อไปคือ......


8. การคิดแบบสัมพันธ์

  • จิตใจเก็บข้อมูลในลักษณะสัมพันธ์กัน - ทำให้เป็นแนวคิดสำคัญของโปรแกรม Ideafisher และการรวบรวมคำศัพท์เป็นพจนานุกรม thesaurus. แต่ละอย่างใช้สร้างให้เกิดความคิดต่างๆได้ ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลสามารถเริ่มอย่างเดียวกันกับการลำดับคำในพจนานุกรม ข้อมูลต่างๆที่อธิบายด้วยตัวเลขสอง (2) บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ต่างๆ
    เพื่อเป็นการอธิบายความคิดแบบสัมพันธ์ ลองเขียนคำว่า ความสุข ตรงกลางหน้ากระดาษ แล้วลากเส้นต่างๆออกจากคำๆนั้น แล้วเขียนบอกความหมายของความสุขที่ท่านนึกได้ในแต่ละเส้น ขอร้องให้คนอื่นกระทำเช่นเดียวกัน แล้วลองเปรียบเทียบกันดู


9. จงมีความท้าทาย!

  • ลองมีความท้าทายในสิ่งใหม่ๆในแต่ละสัปดาห์ แก้ปัญหาใหม่ๆในแต่ละสัปดาห์ สำรวจหาความประสงค์ใหม่ในการแก้ปัญหาเหล่านั้น หรือสร้างความคิดต่างๆให้เกิดขึ้น อ้างถึงเว็บไซท์ของ Alan Black's "Broken Crayons" เกี่ยวกับการท้าทายของเขาประจำสัปดาห์


10. เป็นดังเช่นอัจฉริยะบุคคล

  • ท่านจะได้ประโยชน์จากการเรียนรู้ชีวิตทั้งหลาย ความคิดต่างๆมากมาย และการกระทำทั้งหลายของอัจฉริยะบุคคลในประวัติศาสตร์ เอามาเป็นต้นแบบให้ตนเอง - อาจเป็นเช่น Leonardo da Vinci, Picasso, Einstein, T. S. Eliot, Thomas Edison, Hannibal (ไม่ใช่นาย Lecter!). ลองไปดูที่ทำเนียบของอัจฉริยะบุคคลเพิ่มเติม


Creativity Web
Last updated: 30th June 1999

Enhancing Creative Competency

เรียบเรียงจาก...http://members.ozemail.com.au/~caveman/Creative/Basics/competency.htm

การเพิ่มพูนสมรรถนะในการสร้างสรรค์

อะไรคือสิ่งที่บุคคลต้องการเรียนรู้ (และกระทำ) เพื่อเพิ่มพูนสมรรถนะในการสร้างสรรค์ที่เป็นระบบสำหรับตนเอง ?

ขั้นแรกในการปรับปรุงความคิดสร้างสรรค์ คือความเข้าใจและยอมรับในข้อเท็จจริงที่ว่า ท่าน คือ คนที่มีความคิดสร้างสรรค์คนหนึ่ง และท่านมีความสามารถที่จะพัฒนาให้มีมากขึ้นได้ด้วย --ท่านสามารถพัฒนาโดยการฝึกฝนและการเอาใจใส่ แต่ความเชื่อในความสามารถที่สร้างสรรค์ของท่านต้องเป็นความเชื่อขั้นมูลฐานก่อนอื่น อ่าน ข้อสันนิษฐานต่างๆ..หรือ..Affirmations ทุกๆเช้าและเย็น

ขั้นที่สองท่านต้องรับการบ่มนิสัยและเรียนรู้เพื่อคอยฟัง "เสียง" จากภายในของท่าน จากการหยั่งรู้ของท่าน เมื่อเกี่ยวข้องกับความต้องการค้นหาคำตอบที่สร้างสรรค์ มีความเป็นไปได้อย่างกว้างขวาง โปรดระวังบุคคลิภาพส่วนตัวของท่าน และข้อจำกัดทางความเชื่อที่อาจทำให้ท่านมองไม่เห็นคำตอบที่เป็นไปได้ต่างๆ -- จงรูจักตนเองอย่างถ่องแท้

อย่ากลัวความล้มเหลว ที่อาจเกิดจากหนทางที่ค้นพบ หรือแม้แต่ผลเสียหายที่มาจากการติเตียน เพราะนั่นอาจนำไปสู่การได้มาของความคิดใหม่และความเป็นไปได้ใหม่ๆด้วย

เปิดประตูสำหรับทางเลือกของคำตอบอื่นๆ ที่เกิดขึ้นด้วย

รักษาการบันทึกไว้ สำหรับความคิดทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับท่าน

เรียนรู้ การระลึกถึงความสามารถของท่านเองที่เคยมีมา เพราะนั่นจะทำให้ท่านมีความเข้าใจปัญหาที่เผชิญและมองเห็นอุปสรรคบางอย่างในการแก้ปัญหาได้ล่วงหน้า บางครั้งการแก้ไขอุปสรรคที่ยากก่อนเป็นการเสริมพลังให้ท่านมีมากขึ้น และบางครั้งสิ่งที่เหลือจะง่ายในการทำความเข้าใจกับปัญหานั้น จนกระทั่งต่อมาขบวนการแก้ปัญหาก็ทำให้ "สมองด้านมืด" หรือจิตใต้สำนึกของท่านสร้างคำตอบต่างๆปรากฏขึ้นได้

การเพิ่มความสามารถสร้างสรรค์เกี่ยวข้องกับการฝึกฝนขบวนการคิดทั้งสองแบบ ทั้งแบบแยกแยะและแบบรวมกัน (divergent and convergent thinking processes). เรียนรู้เพื่อสร้างวินัยให้กับจิตใจของท่าน เพื่อสรรหาคำตอบหลายอย่างที่เป็นไปได้กับปัญหาหนึ่งๆ ถือเป็นการพยายามเบื้องต้น -- ด้วยการระดมความคิด เป็นการเปิดทางหลายสายสำหรับไปพบคำตอบ บันทึกผลกระทบที่สร้างความรำคาญใจที่อาจเกิดขึ้นกับท่านในขบวนการแก้ปัญหานี้ไว้ด้วย

ท่านต้องคำนึงถึงในบางกรณีที่ขบวนการคิดสร้างสรรค์ ท่านต้องเริ่มโดยการจัดระเบียบของความคิดที่หลากหลาย ประเมินประโยชน์ที่พึงมีต่อปัญหาเป็นการล่วงหน้าก่อน แล้วจึงนำความคิดนั้นมาสัมพันธ์กันเป็นคำตอบหนึ่งๆ อย่ากังวลใจถ้าท่านอาจต้องตัดความคิดที่ดีๆบางอย่างทิ้งไปบ้าง เพราะเนื่องจากข้อจำกัดของปัญหาหรือจากโครงการ เก็บรักษาความคิดเหล่านั้นไว้สำหรับโครงการอื่นหรืองานทางศิลปในคราวหน้าต่อไป

ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งกำหนดภายใน แต่เกี่ยวข้องกับคุณค่าชีวิตในทางสังคมด้วย เราไม่ได้สร้างสรรค์อะไรเพื่อตัวเราเองมิฉะนั้นมันก็จะถูกเก็บไว้ในใจ แม้แต่คนที่ซ่อนงานของเขาก็ยังต้องบันทึกความคิดของมันไว้บนกระดาษหรือบนผืนผ้าใบ ฯลฯ มันเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจว่าความคิดสร้างสรรค์ตอบสนองเชิงสังคมเช่นไร มันน่าสนใจที่ควรเฝ้าดูศิลปินเพลงป๊อปขึ้นไปบนเวที (จะมีคนดูตอบสนองพวกเขาต่างๆนานา) ดนตรีนั้นเป็นรูปแบบหนึ่งของศิลป์สังคม
มีศิลปินชั้นแนวหน้าราว ๒,๐๐๐ คน ซึ่งอาจจะแสดงกันในห้องเล็กๆของพวกเขา (ในห้องอัดเสียง) ก็จะมีผลเช่นเดียวกันกับบางพวกที่แสดงโดยเปิดเผย (บนเวทีแสดง) บางคนให้ผลดีของการแสดงทางด้านเท็คนิก ขณะที่บางคนแสดงผลทางด้านเท็คนิกไม่ดีแต่ให้ผลสูงด้านจินตนาการ เหล่านี้เป็นความหลากหลายที่แปรเปลี่ยนอยู่เสมอจำเป็นต่อการศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง

ความคิดสร้างสรรค์ถูกกำหนดโดยเค้าโครงทางสังคม ทั้งเป็นการแสดงออกทางด้านส่วนบุคคลและทั้งทางด้านสังคมด้วย วิธีการหนึ่งจะไม่มีความหมายอะไรหากไม่เป็นที่เข้าใจโดยการอธิบายทางสังคม ซึ่งให้ความหมายและประโยชน์กับคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ เท่าที่ผู้เขียนทราบ ในเร็วๆนี้จะมีรายงานการค้นคว้ามากมายที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ในแง่ทางสังคม

Return to Creativity Basics
Return to Creativity Web
Last updated: 4th August 1999

Lateral Thinking

เรียบเรียงจาก...http://members.ozemail.com.au/~caveman/Creative/Techniques/lateral.htm

การคิดทางขวาง

Edward de Bono เขียนเรื่อง "Serious Creativity" ถึงเรื่องที่เขากลายมาสนใจเรื่องการคิดแบบต่างๆที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำได้ คือการคิดอย่างสร้างสรรค์โดยเน้นการรับรู้เป็นสำคัญ (creative and perceptual thinking) คำแปลจากพจนานุกรมฉบับอ๊อกฟอร์ดหมายถึง "การค้นหาวิธีการต่างๆเพื่อแก้ปัญหาอย่างไม่เป็นทางการหรือไม่คำนึงถึงเหตุผล

การคิดทางขวางนี้เป็นการเลี่ยงมองปัญหาแบบทางตั้งหรือแบบเดิมๆ เป็นแบบทางขวางหรือในมุมมองอื่นที่แตกต่าง ทั้งแนวคิดและการกำหนดปัญหา คำๆนี้ครอบคลุมวิธีการที่หลากหลาย รวมทั้งการเฉไฉออกนอกทางของความคิดที่เคยชิน หรือหลีกเร้นจากการใชัข้อสันนิษฐานของการคิดเดิม (กรณีที่เห็นได้ชัด เช่น ท่านมหาตมะ คานธี เลือกใช้วิธีการต่อสู้แบบอหิงสาในการกู้อิสระภาพของชาวอินเดีย หนีข้อสันนิษฐานเดิมในการต่อสู้แบบชนิดตาต่อตาหรือฟันต่อฟันเหมือนยุทธวิธีเดิมๆที่ใช้ต้อสู้กัน กลับเปลี่ยนเป็นการต่อสู้แบบยั่วยุ ดื้อรั้น และไม่ใช้ความรุนแรงตอบโต้ในสถานะการณ์ใดๆทั้งสิ้น....ผู้แปล) การคิดทางขวางเป็นการ "ผ่าหมาก" ระบบการจัดการของตนเอง และเกี่ยวข้องมากกับการรับรู้ต่อสถานะการณ์ต่างๆ

ตัวอย่างเช่น คุณ Granny กำลังนั่งถักไหมพรมอยู่จนหลานสาววัยสามขวบ Susan รำคาญและคอยกวนเธอที่เอาแต่เล่นอยู่กับเส้นไหมขนสัตว์ พ่อแม่คู่หนึ่งแนะนำให้เอาเครื่องเขียนให้ Susan แต่พ่อแม่อีกคู่กลับแนะนำว่าควรให้กับ Granny เพื่อป้องกันการรบกวนจาก Susan. นี่เป็นการเสนอความคิดทางขวาง!

คำว่า "การคิดทางขวาง" ใช้ในความหมายสองนัย คือ:

นัยเแฉพาะ: เป็นชุดวิธีการที่เป็นระบบใช้เปลี่ยนแนวคิดและการรับรู้เดิมเพื่อสร้างแนวทางใหม่ๆ
นัยทั่วไป: เป็นการสำรวจความเป็นไปได้ในหลายๆทางหรือในหลายๆแง่มุมแทนการมุ่งที่อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว

แล้วจะมีการนำมาเสนอในเร็วนี้..บทสรุปของหลักการพื้นฐานของ de Bono และการเสนอแนะวิธีการต่างๆเหล่านี้

Last updated: 5th October 1996

Imitation

เรียบเรียงจาก...http://members.ozemail.com.au/~caveman/Creative/Techniques/imitation.htm

การลอกเลียน

มีกี่ความคิดที่เกิดขึ้นโดยการริเริ่มใหม่อย่างแท้จริง ?

เป็นการยืนยันได้ว่า ความคิดใหม่ต่างๆนั้นเกิดขึ้นมาจากการลอกเลียนจากความคิดอื่นก่อน แล้วพัฒนาต่อไปเป็นความคิดริเริ่มใหม่ของตนเอง ลองทำอย่างที่นักคิดสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่เคยกระทำมา: เลียนแบบ...เลียนแบบ...เลียนแบบ หลังจากที่ลอกเลียนจนเพียงพอแล้ว ท่านจึงจะพบความคิดที่ท่านพอใจและนำไปใช้ในรูปแบบอื่นๆที่แตกต่างกันต่อไป ความคิดริเริ่ม จึงหมายถึง ผลที่เกิดตามธรรมชาติโดยการแสวงหาด้วยความจริงใจ

Isaac Newton กล่าวว่า:

"ถ้าข้าพเจ้าอยากเห็นสิ่งที่ไกลๆ ข้าพเจ้าต้องยืนมองบนไหล่ของพวกยักษ์".

เหมือนเช่นคณะดนตรี the Beatles เริ่มเล่นเพลงผู้อื่นในตอนแรก J.S. Bach ลอกเลียนโน็ตเพลงคนอื่นอย่างไม่ลืมหูลืมตาในช่วงวัยชรา (เพื่อศึกษาดูเท่านั้น), Beethoven เล่นทุกแนวเพลงในสมัยของเขา และนักดนตรีแจ๊สมักแทรกคำร้องของเพลงป๊อบมาชดเชยในช่วงเล่นเดี่ยวเสมอ ความคิดทั้งหลายก็เป็นในทำนองเดียวกัน จึงเป็นเรื่องรำคาญใจของทนายความเมื่อต้องเกี่ยวข้องกับกฏหมายสิทธิบัตรทางปัญญา แน่นอนความคิดหลายๆมักถูกนำไปใช้หาประโยชน์ของพวกมีจิตทางวัตถุนิยม เหมือนเช่นสิ่งอื่นๆ แต่ถ้าท่านหยั่งรู้ความคิดใดความคิดหนึ่งอย่างแท้จริงแล้ว นั่นคือความคิดของท่าน

คณบดี Willian R. Inge กล่าว่า:

"ความคิดริเริ่มคืออะไร ? คือความคิดที่ขะโมยมาแต่ตรวจจับไม่ได้"

T. S. Eliot กล่าวว่า:

นักกวีอ่อนหัดมักเป็นนักลอกเลียน; นักกวีที่ชำนาญแล้วมักเป็นนักขะโมย

Last updated: 26th October 1996

Introduction to Affirmations

เรียบเรียงจาก...http://members.ozemail.com.au/~caveman/Creative/Resources/affirmations.htm

บทนำของคำยืนยันหรือการรับรอง

คำยืนยันหรือการรับรองต่างๆเป็นวิธีการที่มีประโยชน์ในการกำหนดโปรแกรมการคิดของท่านในแนวทางพิเศษ คำยืนยันต่างๆต่อไปนี้รวบรวมมาจากหลายแหล่ง แต่ละประโยคของคำยืนยันนี้ท่านสามารถจดบันทึกไว้ในชิ้นกระดาษขนาด 3" x 5" และนำติดตัวไว้กับท่านระหว่างวัน สร้างนิสัยการอ่านมันทุกๆเช้าหรือบ่ายอย่างน้อยหนึ่งครั้งในเวลาที่สงบ

ข้อมูลอื่นเกี่ยวกับคำยืนยันหรือการรับรองที่มีผลในการใช้เป็นเครื่องมือสำหรับความคิดสร้างสรรค์ สามารถหาอ่านได้ในหนังสือของ Julia Cameron ชื่อ The Artist's Way - A Spiritual Path to Higher Creativity . ในบันทึกนี้มีคำยืนยันบางส่วนได้มาจากส่วนแรกของหนังสือเล่มนี้

ถ้าท่านต้องการคำยืนยันบางประโยค เพื่อนำมาทำแผ่นรูปลอกสำหรับติดไว้ที่ กระจกหน้าต่าง กระจกส่องหน้า หน้ากระจกรถยนต์ หรือที่เครื่องคอมพีซี ให้ลองไปเลือกดูที่ Affirmation (Brainstickers (R)) Web Site. หรือไม่ก็ติดต่อกับ Ed Thomas by email.

ลองพิจารณาดูผลิตผลของ New Age Affirmation Software ในประเทศ Australia ต่อไปนี้
ประโยคคำยืนยันหรือรับรอง

ข้าพเจ้าเป็นศิลปินที่ปราดเปรื่องและประสบความสำเร็จ....I am a brilliant and successful artist.

ข้าพเจ้ายอมรับการเป็นเยี่ยงศิลปินของข้าพเจ้า....I am allowed to nurture my artist

ข้าพเจ้ามีความเชื่อมั่นและความสามารถในการทำงานที่สร้างสรรค์...I am confident and competent in my creative work.

ข้าพเจ้าอดทนต่อความกำกวมในทุกปัญหา....I am tolerant of the ambiguity in problems.
ข้าพเจ้ายินดีที่ให้บริการผ่านความคิดสร้างสรรค์ของข้าพเจ้า....I am willing to be of service through my creativity.

ข้าพเจ้ายินดีต่อการสร้างสรรค์....I am willing to create

ข้าพเจ้ายินดีที่มีประสบการณ์โดยพลังสร้างสรรค์ของข้าพเจ้า.....I am willing to experience my creative energy.

ข้าพเจ้ายินดีเรียนรู้เพื่อการสร้างสรรค์ด้วยตนเอง...I am willing to learn to let myself create

ข้าพเจ้ายินดีใช้ทุกความสามารถพิเศษในการสร้างสรรค์ของข้าพเจ้า.....I am willing to use my creative talents.

ข้าพเจ้าเริ่มต้นการงานทุกอย่างด้วยความคิดใหม่และวิธีที่ดีกว่าเพื่อทำมันให้สำเร็จ....I begin every task by thinking of new and better ways to accomplish it.

ข้าพเจ้าพิจารณาทุกคำตอบที่เป็นไปได้จากทุกแหล่งต่างๆนานา....I consider many possible solutions from many diverse sources.

ข้าพเจ้าสมควรมีชีวิตที่สร้างสรรค์เป็นรางวัล...I deserve a rewarding creative life.

ข้าพเจ้ามีความคิดใหม่และน่าสนใจเป็นปกติเสมอ....I have a constant flow of new and interesting ideas.

ข้าพเจ้ามีจิตใจที่เสี่ยงและมองเห็นประสบการณ์ใหม่สม่ำเสมอ.....I have an adventurous mind and seen new experiences regularly.

ข้าพเจ้ามีความสามารถที่ไม่ธรรมดาในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์และพบคำตอบที่สร้างสรรค์สำหรับปัญหาต่างๆ....I have an unusual ability to reach creative decisions and to find creative solutions for problems.

ข้าพเจ้ามีความสามารถพิเศษในการสร้างสรรค์มากมาย.....I have rich creative talents.
ข้าพเจ้ามีความกล้าและเชื่อมั่นที่จำเป็นต่อการนำคำตอบต่างๆไปใช้ในทางปฏิบัติ...I have the courage and self-confidence necessary to put my solutions into practice.

ข้าพเจ้ามีกำลังและความดื้อรั้นที่จำเป็นในการครุ่นคิดผ่านคำตอบต่างๆ....I have the strength and persistence necessary to work ideas through to solutions.

ข้าพเจ้ายังคงการมองภาพล่วงหน้าที่ความซับซ้อนของชีวิต.....I maintain a complexity of outlook on life.

ข้าพเจ้าเล่นอยู่กับความคิดที่เป็น แค่บางส่วน ยังไม่สมบูรณ์ และโง่เขลาในบางครั้ง....I play with partial, incomplete and sometimes foolish ideas.

ข้าพเจ้ารู้จักงานที่เคยทำผิดพลาดแต่มักใช้ความล้มเหลวนั้นๆเป็นบทเรียน.....I recognise the task of making mistakes but learn from my failures.

ข้าพเจ้าใช้เวลาสิบนาฑีแต่ละเช้าและเย็นใคร่ครวญถึงปัญหาต่างๆ.....I spend ten minutes each morning and evening, thinking over problems.

ข้าพเจ้ามองปัญหาใหม่ที่เผชิญเหมือนประตูใหม่ที่ต้องการถูกเปิดและเป็นโอกาสที่ได้สร้างสรรค์...I treat each new problem I encounter as a new door to be opened, and an opportunity to be creative.

ข้าพเจ้าไว้ใจความรู้สึกและจิตใต้สำนึกของข้าพเจ้า...I trust my feelings and unconscious thoughts.

ความคิดสร้างสรรค์ของข้าพเจ้านำข้าพเจ้าไปสู่ความจริงและความรักเสมอ...My creativity always leads me to truth and love

ความคิดสร้างสรรค์ของข้าพเจ้านำข้าพเจ้าไปสู่การอภัยและให้อภัยตนเอง....My creativity leads me to forgiveness and self-forgiveness.

ความคิดสร้างสรรค์ของข้าพเจ้าช่วยรักษาตนเองและผู้อื่น....My creativity heals myself and others

ด้วยการใช้เครื่องมือง่ายๆสองสามอย่าง ความคิดสร้างสรรค์ของข้าพเจ้าก็จะเฟื่องฟู.....Through the use of a few simple tools, my creativity will flourish.

Updated on 4th August 1999
Creativity Web Home Page

Metaphorical thinking

เรียบเรียงจาก....http://members.ozemail.com.au/~caveman/Creative/Techniques/metaphor.htm

การคิดเชิงอุปมา

คนทั่วไปโน้มเอียงไปทางการคิดเชิงเปรียบเทียบด้วยความคล้ายคลึงกัน เช่นเปรียบจิตใจมนุษย์เหมือนวิทยาการสมัยใหม่ในปัจจุบัน ในอดีตราวสองสามศตวรรษล่วงมา จิตใจมนุษย์ก็ถูกเปรียบเทียบเหมือนเครื่องจักร์กล โทรศัพท์กลาง และเร็วๆนี้ ยังเปรียบจิตใจมนุษย์เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์อีก อันที่จริง จิตใจเป็นมากยิ่งกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์

การอุปมาหนึ่งๆ ถือเป็นวิธีการคิดที่สบายๆในการเชื่อมโยงความหมายที่แตกต่างของสิ่งต่างในจักรวาลเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น เครือข่ายอาหาร การไหลของเวลา คนยามแห่งปี การคิดเชิงอุปมามีเงื่อนไขตรงที่สร้างให้เกิดความคล้ายคลึงกัน ดังเช่นจิตใจของมนุษย์ทุกคนมีแนวโน้มที่คล้ายกัน ดังเช่นแผนที่ถนนคือแบบจำลอง หรือสิ่งอุปมาที่เป็นจริงและมีประโยชน์ในการอธิบายความเป็นเมืองหรือชุมชน และดังเช่นระบบเสียงแบบโดลบี้เป็นเหมือนราวกับเสียงในโรงซักรีด.

การคิดโดยอิงเหตุผลมากเกินไปทำให้ขบวนการคิดสร้างสรรค์ตะกุกตะกัก ดังนั้นควรใช้การอุปมาเป็นวิธีคิดที่ทำให้แตกต่างไป มองหาสิ่งอุปมาต่างๆในความคิดของท่านเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ควรเอาใจใส่และพึงระวังชนิดของการอุปมาที่ท่านใช้ด้วย สิ่งที่ใช้อุปมาเป็นสิ่งที่น่าทึ่ง ลืมไปได้เลยว่าจะพิสูจน์ความหมายของสิ่งนั้นๆอย่างไรบ้าง การพยายามค้นหาคำจำกัดความของการอุปมาหนึ่งอาจทำให้ท่านต้องล้มเลิกความคิดทั้งหมดเอาเลย

การจินตนาการด้วยความรู้สึกความคิดคำนึงบางอย่างอาจช่วยได้ เช่น การนึกภาพน้ำพุในใจ อาจสร้างแรงบันดาลใจในบทเพลงบรรเลง "Prima Vera" ของ Vivaldi ความนึกฝันทำให้ Berlioz ประพันธ์เพลง "Symphonie Fantastique," นิทรรศการทางศิลปะ ถูกสะท้อนออกมาโดย Mussorsgy ในบทเพลง "Pictures at an Exhibition," และอื่นๆ เป็นต้น

Last updated: 5th October 1996

Attribute Listing

เรียบเรียงจาก...http://members.ozemail.com.au/~caveman/Creative/Techniques/attribut.htm

การแจกแจงคุณสมบัติ

บันทึกจาก "Creating Workforce Innovation" โดย Michael Morgan -จัดพิมพ์โดย Business and Professional Publishing 1993

การแจกแจงคุณสมบัติ เป็นวิธีการที่นิยมมากที่สุดวิธีหนึ่ง ทำให้แน่ใจได้ว่าความคิดที่เป็นไปได้กับปัญหานั้นๆถูกตรวจสอบโดยถี่ถ้วน เป็นการแยกแขนงปัญหาออกเป็นส่วนเล็กส่วนน้อย เพื่อสร้างความกระจ่างชัดของปัญหาได้มากขึ้น ก็จะทำให้พบวิธีจัดการกับปัญหานั้นต่อไป...โดยตั้งอยู่บนข้อสันนิษฐานที่ว่า ถ้าเข้าใจปัญหาได้มากเท่าไร ก็จะมีโอกาสแก้ปัญหาได้มากขึ้นเท่านั้น

ลองสมมุติว่าท่านอยู่ในธุระกิจทำโคมไฟส่องสว่าง ภายใต้การแข่งขันทางการค้าสูง และต้องการปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้เหนือกว่าของใครๆ โดยการแจกแจงคุณสมบัติของสินค้าโคมไฟส่องสว่างนี้ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ เช่น ครอบ สวิทช์ หลอดไฟ แบ๊ตเตอรี่ และน้ำหนัก - ในแต่ละคุณสมบัติของชิ้นส่วนเหล่านี้ - ท่านก็สามารถเขียนตารางแจกแจงความคิดได้ดังนี้

การแจกแจงคุณสมบัติ - การปรับปรุงโคมไฟส่องสว่าง

ชิ้นส่วน คุณสมบัติ ความคิด
ครอบ พลาสติก โลหะ
สวิทช์ เปิด/ปิด เปิด/ปิด
ปรับแสงต่ำ/สูง
แบ็ตเตอรี่ กำลังไฟอัด เพิ่มใหม่ได้
หลอดไฟ แก้ว พลาสติก
น้ำหนัก หนัก เบา

การแจกแจงคุณสมบัติเป็นวิธีการที่มีประโยชน์ ช่วยในการปรับปรุงคุณภาพและวิธีซ่อมแซมให้มีประสิทธิภาพขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีความสลับซับซ้อนมากๆ ยังสามารถใช้ร่วมกับวิธีการคิดสร้างสรรค์อื่นๆ เช่น การสรรหาความคิดด้วยวิธีการระดมสมอง เป็นต้น อีกทั้งวิธีการนี้เป็นการเน้นการคิดเจาะจงเฉพาะส่วนของสิ่งที่ผลิตหรือแต่ละขั้นตอนของขบวนการ ก่อนนำไปสู่ความคิดโดยรวมอีกมากมาย

วิธีการที่เกี่ยวข้องกันคือ....การคิดเชิงอุปมา และ morphological analysis
Last updated: 17th October 1996

Ask Questions

เรียบเรียงจาก...http://members.ozemail.com.au/~caveman/Creative/Techniques/ask_questions.htm

ฝึกโดยการตั้งคำถาม

ฉันมีคนรับใช้ที่ซื่อสัตย์ ๖ คน เขาเหล่านั้นสอนฉันทุกอย่างที่ฉันรู้:
ชื่อของพวกเขาคือ What และ Why และ Whenและ How และ Where และ Who

Rudyard Kipling (from "Just So Stories)
Click here to read more of this poem

ถาม "ทำไม" ๕ ครั้ง
จาก "What a Great Idea" โดยChic Thompson.
ถาม "ทำไม" เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น และถาม "ทำไม" เพิ่มอีก ๔ ครั้ง
ตัวอย่างเช่น...
  1. ทำไมเครื่องยนต์ดับ?ฟิวส์ขาดเพราะเกินกำลัง
  2. ทำไมมันเกินกำลัง?ฝาประกับไม่มีการหล่อลื่นที่เพียงพอ
  3. ทำไมถึงไม่มีการหล่อลื่นที่เพียงพอ?เครื่องสูบชักทำงานไม่ดีพอ
  4. ทำไมน้ำมันหล่อลื่นไม่ถูกสูบไป?ฝาประกับเครื่องสูบชักสั่นและเสียหาย
  5. ทำไมมันเสียหาย?ไม่มีเครื่องกรอง,วัสดุในเครื่องสูบชักจึงชำรุด

....ดังนั้นจึงต้องติดตั้งเครื่องกรองก็จะแก้ปัญหานี้ได้


๖ คำถามสากล


สิ่งก่อเกิดของความคิดต้องอาศัยความจริงสากลที่ง่ายๆ มีเพียง ๖ ชนิดของคำถามที่บุคคลควรถามผู้อื่นคือ:


What?-อะไร?
Where?-ที่ไหน?
When?-เมื่อไร?
How?-อย่างไร?
Why?-ทำไม?
Who?-ใคร?


ท่านควรเขียนแผนภูมิในใจของปัญหาาที่ถูกรุมล้อมด้วยชนิดคำถามทั้ง ๖

What Where
\ /
When -------------- Problem: -------------- How
/ \
Why Who


Return to the Techniques Page
Last updated: 1st November 1997

Escape Thinking

เรียบเรียงจาก...http://members.ozemail.com.au/~caveman/Creative/Techniques/escape.htm

การคิดหลีกหนี
จัดทำโดย.. Dr Robert Polster

ความมุ่งหมายของเอกสารนี้จัดทำขึ้นเป็นร่างสรุปความคิดใหม่ๆ สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการทางเท็คนิกของเรื่องธุระกิจ เป็นวิชาเกี่ยวข้องกับการจัดการขบวนการทำงานใหม่ ข้าพเจ้าจำเป็นต้องทำเชิงปฏิบัติการบางครั้งเพื่อสร้างความคิดเหล่านี้

จุดเน้นที่สำคัญคือวิธีการและความคิดที่เขียนโดย Edward De Bono ในหนังสือของเขาเรื่อง "Serious Creativity" โดยทั่วไปข้าพเจ้ามักเกี่ยวข้องกับกลุ่มนักธุระกิจอาชีพที่มีความสงสัยวิธีการคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเริ่มอธิบายที่เกี่ยวกับเรื่องสิ่งเร้า ข้าพเจ้าบอกว่าเราทุกคนเกิดมาด้วยความไม่มีอคติทางความคิดใดในโลกมาก่อนเลย แต่ด้วยประสบการณ์ที่ถูกสั่งสมต่อๆมา ทำให้เรานำกลับมาใช้เป็นแบบอย่างในการแยกแยะสิ่งต่างๆที่เราพบเห็น: นี่คือเก้าอี้ นั่นคือหนังสือ นั่นคือรถยนต์ นี่คือไฟ ฯลฯ ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมในรูปของสัญญานี้ เราจึงสามารถจัดแยกประเภท หรือเป็นกรอบคิดในหลายเรื่องที่เราเผชิญในแต่ละสถานการณ์ เรามักไม่ยอมเสียเวลาที่จะคิดทบทวนหรือวิเคราะห์สิ่งเหล่านั้นก่อน จุดด้อยนี้คือทำให้เรามีข้อจำกัดในการคิด ถ้าเผอิญเราไม่มีกรอบความคิดนี้ชี้นำสิ่งที่เราพบเห็น บางทีเราก็ไม่สามารถพบเห็นมันได้ เราจึงมักใช้ข้อสันนิษฐานต่างๆมากมายในใจกับสิ่งพบเห็น ข้อสันนิษฐานพวกนี้จึงปิดบังความเป็นไปได้ใหม่ๆให้เกิดขึ้นได้

หนังสือชื่อ "Test Your Lateral Thinking IQ" เขียนโดย Paul Sloan เสนอตัวอย่างข้อสันนิษฐานที่ทำให้หลงผิดหลายอย่าง เช่นเมื่อคราวที่คนฝรั่งเศสตั้งแนวร่วม (the Maginot line) เพื่อต่อต้านพวกเยอรมันในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พวกเขาสันนิษฐานว่าสงครามคราวต่อไปจะต่อสู้กันเหมือนคราวที่แล้วมา แต่ด้วยยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยกว่า พวกเขาจึงเน้นการป้อมปราการป้องกันที่แข็งแรงตลอดแนวชายแดนฝรั่งเศส-เยอรมัน แต่พวกเยอรมันกลับทำสงครามคราวต่อมาแบบสายฟ้าแลบบุกเข้าทางประเทศเบลเยี่ยม ทำให้สิ่งที่เตรียมการไว้ล่วงหน้าหมดประโยชน์ไปเลย

อีกตัวอย่างคือ ชนอินเดียนแดงตอนเหนือของอเมริกา เห็นชาวยุโรปคนหนึ่งนั่งบนหลังม้า พวกเขาสันนิษฐานผิดๆว่าเป็นพวกสัตว์พันธ์ใหม่ที่มีสองหัว สองแขน และสี่ขา

De Bono แสดงให้เห็นแนวโน้มที่มักมีข้อสันนิษฐานเดิมปรากฏอยู่เสมอๆ เขาแนะนำเกมชนิดหนึ่งซึ่งมีการโชว์ตัวอักษรทีละตัวตัวในแต่ละครั้ง มีเป้าหมายคือให้เอาตัวอักษรเหล่านี้มาประกอบเป็นคำ ตัวอย่างเช่น อักษรตัวแรกคือ A. ตัวที่สองคือ T, ดังนั้นเป็นคำคือ AT เมื่อรวมกัน ตัวอักษรต่อไปคือ R การรวมคำใหม่คือ RAT. เมื่อมีตัว E ปรากฏคำต่อไปคือ RATE. G เป็นอักษรต่อไปรวมเป็นคำ GRATE. และแล้วเมื่อตัวอักษร T ปรากฏ คนส่วนมากจะนำมันรวมคำกับ GRATE ต่อไปไม่สำเร็จ นี่ถ้าเลิกล้มข้อสันนิษฐานที่เป็นกรอบการคิดเดิมว่าทุกอักษรต้องนำมาเรียงแบบต่อๆกัน (ก่อนหรือหลังของคำเดิม) แล้ว คนใดคนหนึ่งก็สามารถนำอักษรสุดท้ายคือ T สร้างคำใหม่เป็น TARGET ได้สำเร็จ. มีตัวอย่างทางธุระกิจอุตสาหกรรม คือเครื่องสัญญานบอกการเลี้ยวของรถยนต์ นับเป็นเวลาร่วม ๔๐ ปี ที่เครื่องบอกสัญญานเลี้ยวใช้ระบบกลไกเป็นแขนกระดกยื่นไว้กับด้านข้างของรถยนต์ เลียนแบบเหมือนวิธีที่คนขับเคยใช้แขนยื่นออกนอกหน้าต่างบอกทิศทางที่รถยนต์กำลังเลี้ยวไป เมื่อมีการทบทวนข้อสันนิษฐานเดิมเสียใหม่ สัญญานเลี้ยวแบบไฟกระพริบที่มีประสิทธิภาพกว่าก็ถูกนำมาใช้แทนในปัจจุบัน
ดังนั้นเราจำเป็นต้องยกเลิกการใช้ข้อสันนิษฐานเดิมไว้บางขณะ เพื่อที่ว่าเราจะได้สร้างโอกาศที่เป็นไปได้ใหม่ๆเกิดกับความคิดเราได้ การขจัดข้อสันนิษฐานเดิมที่เคยชินออกไปนั้น De Bono แนะนำให้สร้างคำกล่าวกระตุ้นที่สร้างสรรค์ หรือคำกล่าวชนิดยั่วยุให้เกิดแนวทางใหม่ของการคิด ตัวอย่างเช่น การปรับปรุงแนวคิดใหม่ที่เกี่ยวกับภัตตาคาร เขาเสนอว่าควรสร้างรายการของข้อสันนิษฐานต่างๆดังเช่น ภัตตาคารบริการอาหาร ลูกค้าจ่ายเงินเมื่อออกจากร้าน ฯลฯ โดยการใช้ "เท็คนิกหลีกหนี" (Escape Technique) เราก็เปลี่ยนข้อสันนิษฐานเป็นลักษณะของการยั่วยุเสียใหม่ว่า "ภัตตาคารบริการอาหาร" กลายเป็น "ภัตตาคารไม่บริการอาหาร" เราเริ่มใช้ข้อสันนิษฐานใหม่นี้เพื่อมองภัตตาคารในแนวคิดใหม่ มันอาจนำไปสู่ความคิดในอีกรูปแบบหนึ่งคือ เป็นสถานที่โอ่อ่าไม่มีการบริการอาหารใดๆ เพียงแต่บริการที่ว่างสำหรับผู้คนให้เข้ามาใช้เป็นที่ทานอาหารนอกบ้าน (picnic area) ร่วมกัน ซึ่งต่างนำอาหารกันมาเองในท่ามกลางบรรยากาศที่ตกแต่งอย่างสละสลวย

หลังการอารัมบทเรื่องนี้แล้ว ข้าพเจ้าก็ให้แต่ละกลุ่มเสนอรายการข้อสันนิษฐานต่างๆเกี่ยวข้องกับการจัดการธุระกิจที่เขาต้องการปรับปรุงให้ดีขึ้น จากการเลือกสุ่มข้อสันนิษฐานข้อใดข้อหนึ่งที่สามารถโยงกับ "เท็คนิกหลีกหนี" ในการสร้างการกระตุ้นแล้ว จึงให้แต่ละคนใช้เวลาสองสามนาฑีสร้างข้อสันนิษฐานแบบแปลกแยกของแต่ละคนขึ้น เขียนบันทึกเป็นรายการความคิดที่เกิดขึ้นจากข้อสันนิาฐานนั้นๆ เมื่อเขานำความคิดเหล่านั้นมาแลกเปลี่ยนและพิจารณาร่วมกันเพื่อจุดมุ่งหมายให้เกิดความกระจ่างและผลิตความคิดเพิ่มเติม ขบวนการนี้ดำเนินการซ้ำๆกับข้อสันนิษฐานอื่นๆที่มีจนหมดเวลาตามที่อำนวยให้

ต่อจากนั้น เราก็ทำการประเมินความเป็นไปได้เพื่อการปฏิบัติของความคิดเหล่านั้น สิ่งที่น่าสนใจคือปัญหาต่างๆสามารถตรวจสอบได้มากขึ้น แต่ละปัญหาเราจะนำมาบันทึกไว้แล้วพยายามปรับปรุงหาคำตอบในแต่ละเรื่องต่อไป

De Bono ได้เสนอแนะวิธีการอื่นๆอีกมากในการตั้งข้อสันนิษฐานที่แปลกแยกในเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเขาได้เกริ่นไว้ในบทนำเรื่องในหนังสือของเขา

คนที่มาอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ดูเหมือนจะชอบวิธีการนี้ ข้าพเจ้าสงสัยเขาเหล่านั้นอาจชอบในแง่ที่ว่า มันเป็นการเผชิญปัญหาอย่างมีแผนและเน้นที่ปัญหาเฉพาะหน้า หลีกเลี่ยงการระดมความคิดเชิงบังคับ การเริ่มต้นจากสิ่งที่พวกเขาคุ้นเคย โดยการทำรายการข้อสันนิษฐานที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของเขาเหล่านั้น ทำให้เกิดการผ่อนคลายในขบวนการอบรมที่ทำให้การเผชิญปัญหานั้นง่ายขึ้น

(กลับไปดูเรื่อง....การระดมตั้งข้อสันนิษฐาน )

Dr. Robert S. PolsterPhone: 703-379-5700Richard S. Carson & Associates FAX: 703-379-5707Internet: ropol@delphi.com2144 California St., NW Suite 513Washington, DC 20008USA
Last updated: 18th October 1996

Assumption-Smashing-Technique


การระดมตั้งข้อสันนิษฐาน

วิธีการที่เป็นประโยชน์ให้ก่อเกิดความคิดมากมายคือ สร้างรายการข้อสันนิษฐานต่างๆของปัญหาก่อน แล้วตรวจสอบก่อนตัดทิ้งไปในแต่ละข้อ หรือไม่ก็นำเอาข้อสันนิษฐานเหล่านั้นมารวมกัน

ตัวอย่างเช่น ผู้เขียนเคยทำงานแผนกบริการลูกค้าในบริษัทโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งหนึ่ง เมื่อลูกค้าซื้อโปรแกรม เขาจะถูกขยั้นขยอให้ซื้อข้อตกลงสนับสนุนเพิ่มอีก ๑๕ % ของราคาโปรแกรมนั้นอีก รายได้นี้ถูกนำไปสนับสนุนแผนกบุคคลผู้ซึ่งคอยบริการทางโทรศัพท์

ข้อสันนิษฐานในสถานการณ์นี้คือ:

ลูกค้าซื้อข้อตกลงในการดูแล
ลูกค้าจ่าย 15% ของราคาโปรแกรมเพื่อการสนับสนุน

การสนับสนุนคือสินค้าที่ควรจัดจำหน่าย
คนขายโปรแกรมคอยช่วยเหลือและให้การสนับสนันเป็นครั้งคราว

ทีนี้ลองคิดในสถานการณ์ที่บางข้อสันนิษฐานนี้ต้องตกไป

อะไรเกิดขึ้นถ้าการสนับสนุนเป็นการให้ฟรี? - บางทีราคาโปรแกรมควรต้องเพิ่มราคาขึ้นเพราะไม่มีค่าสนับสนุน แต่ให้ความรูสึกที่ดีว่าเป็นบริการให้การสนับสนุนฟรีอย่ามีการสนับสนุนสินค้า - ไม่ให้บริการนี้ ผู้ขายไม่ต้องสนับสนุนสินค้านี้ จึงไม่จำเป็นต้องจ้างเจ้าหน้าที่ให้บริการนี้ เมื่อมีลูกค้าโทรมาขอความช่วยเหลือ ก็บอกให้เขาวางหูเสีย วิธีนี้ทำให้ลูกค้าต้องรวมกลุ่มช่วยเหลือกันเอง หรือผ่านเครือข่ายทางอินเทอร์เนท กระดานข่าว จดหมายเหตุ กับผู้สันทัดการบริการโดยเฉพาะ และอื่นๆ เป็นต้น

แม้ข้อสันนิษฐานอีกมากที่จะทำให้ตกไปได้ แต่อะไรจะเกิดขึ้นถ้าผู้ขายแจกโปรแกรมนี้ เหมือนกรณีที่ท่านต้องอ่านเรื่องนี้จากโปรแกรมท่องเน็ทของ Netscape Naviagor หรือ Microsoft Explorer. ท่านจะจ่ายเงินสำหรับโปรแกรมนั้นหรือไม่? ท่านคิดว่าบริษัท Netscape จะมีรายได้อย่างไรเมื่อคนไม่ยอมจ่ายค่าโปรแกรมท่องเน็ทนี้?

รูปแบบอิสระในการตัดข้อสันนิษฐานทิ้งไป

การตัดข้อสันนิษฐานทิ้งไป เป็นการดีอย่างหนึ่งที่ทำให้มีการผ่อนคลายและคิดหาความคิดที่แปลกๆอย่างอื่น ท่านจะตอบคำถามต่อไปนี้อย่างไร?
อะไรจะเกิดขึ้นถ้าไม่มีแรงโน้มถ่วงในหนึ่งนาฑีทุกๆวัน?
ท่านจะทำอะไรถ้าท่านไม่ต้องนอนหลับเลย?

พรรณาสัปดาห์แห่งการทำงานของท่าน ถ้าท่านเพียงต้องไปทำงาน (หรือไปโรงเรียน) เพียงแค่ ๑ วันในแต่ละสัปดาห์? หรือ ๑ เดือนในแต่ละปี?

ยังมีตัวอย่างอีกมากในเอกสารเรื่อง การคิดหลีกหนี .......(Escape Thinking)

Last updated: 18th October 1996
Send your comments to Charles Cave

The Little Prince

บทตัดตอนจาก "เจ้าชายน้อย"
เขียนโดย Antoine de Sainte Exupery.

ครั้งหนึ่ง เมื่อข้าพเจ้าอายุ ๖ ขวบ ได้เห็นภาพมหัศจรรย์ในหนังสือเล่มหนึ่ง เป็นเรื่องจริงจากธรรมชาติ เกี่ยวข้องกับป่าในบรรพกาล เป็นรูปงูเหลือมตัวใหญ่กำลังจะกลืนกินสัตว์ตัวหนึ่งเป็นอาหาร...นี่เป็นสำเนาของภาพนั้น:

ในหนังสือเขียนไว้ว่า: "งูเหลือมกลืนเหยื่อของมันโดยไม่ต้องเคี้ยวหลังจากที่มันเคลื่อนไหวไม่ได้แล้ว ต่อมาก็จะนอนพักเป็นเวลาหกเดือนเพื่อการย่อยอาหารของมัน"

ข้าพเจ้าลองคิดเลยเถิดไปถึงการผจญภัยในป่าดงพงไพร หลังลองบันทึกภาพด้วยดินสอสี ก็ได้ภาพแรกมาหนึ่งภาพ ภาพหมายเลขที่ ๑ เป็นดังนี้:

ข้าพเจ้าอวดภาพนี้กับผู้มีอายุมากกว่า และถามว่าภาพนี้ทำให้เขารู้สึกกลัวหรือไม่ ?
กลับได้รับการโต้กลับว่า "น่ากลัวหรือ?... ทำไมต้องกลัวหมวกด้วยล่ะ?"

ภาพของข้าพเจ้าไม่ใช่ภาพหมวก มันเป็นภาพที่ตั้งใจให้เป็นภาพงูเหลือมกำลังย่อยกินช้างตัวหนึ่ง แต่เพราะคนสูงอายุกว่ามองภาพแล้วไม่เข้าใจได้ ข้าพเจ้าเลยวาดใหม่อีกภาพ มองผ่านในท้องของงูเหลือม เขาเลยเห็นและเข้าใจได้ชัดเจน เพราะคนทั่วไปมักต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมเสมอ ภาพหมายเลข ๒ ดังกล่าวเป็นดังนี้:

การตอบโต้ของคนสูงอายุในครั้งนั้น เป็นเสมือนการแนะนำข้าพเจ้าโดยอ้อมให้พึงละเว้นการเขียนภาพงูเหลือมไม่ว่ามองผ่านด้านในหรือด้านนอกของตัวงูไว้ก่อน แต่หันมาเอาใจใส่กับวิชาภูมิศาสตร์ วิชาประวัติศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาไวยกรณ์ ทดแทน ด้วยเหตุนี้เมื่ออายุได้ ๖ ขวบ ข้าพเจ้าล้มเลิกความคิดที่จะยึดเอาการวาดภาพเป็นอาชีพที่โปรดปราณ ข้าพเจ้ามีความท้อแท้ต่อความล้มเหลวที่เกิดจากภาพหมายเลข ๑ และภาพหมายเลข ๒ คนสูงอายุนั้นไม่เคยเข้าใจอะไรได้ด้วยตนเอง มักสร้างความเบื่อหน่ายให้เด็กๆที่ต้องคอยอธิบายเขาอยู่เสมอหรือตลอดไป

ดังนั้นในเวลาต่อมา ข้าพเจ้าก็เลือกอาชีพอื่นและเรียนการขับเครื่องบิน ข้าพเจ้าบินไปทั่วทุกส่วนของโลก และพบว่าวิชาภูมิศาสตร์มีประโยชน์ในเรื่องการบินมาก เพียงการมองผิวเผินข้าพเจ้าก็สามารถแยกได้ระหว่างประเทศจีนกับมลรัฐอริโซน่า ถ้าเผอิญใครเกิดหลงทางในการบินตอนกลางคืน ความรู้ทางภูมิศาสตร์จะมีค่ามากขึ้นทีเดียว

ในวิถีทางของการดำเนินชีวิต ข้าพเจ้าได้เผชิญเหตุการณ์ต่างๆ กับคนมากมายที่ให้ความสำคัญกับผลของการกระทำที่แล้วมา ข้าพเจ้าเคยมีชีวิตอยู่ท่ามกลางคนสูงอายุกว่าหลายคนอย่างคุ้นเคยและสนิทสนมมาแล้ว แม้กระนั้นก็ไม่ทำให้ข้าพเจ้าลดความมีอคติต่อพวกเขาได้เลย

เมื่อไรก็ตามที่ข้าพเจ้ามีโอกาสพบเขาคนใดคนหนึ่งซึ่งๆหน้า ข้าพเจ้าจะทดลองให้เขาดูภาพหมายเลข ๑ ที่ยังเก็บรักษาไว้ เพื่อค้นหาว่า จะมีคนที่เข้าใจภาพนี้อย่างแท้จริงบ้างไหม แต่ทุกคนไม่เขาก็เธอก็จะตอบโต้กลับมาเสมอว่า:

"นั่นคือหมวก"

แล้วข้าพเจ้าก็ไม่เคยพูดคุยกับเขาเกี่ยวกับงูเหลือม ป่าดงพงไพร หรือดวงดาว ข้าพเจ้าจะลดตัวเองสู่ระดับเดียวกับเขา จะพูดคุยกับเขาเรื่องสะพาน และกิฬากอล์ฟ และการเมือง และเน็คไท ที่คนเหล่านั้นมักสนใจและดีใจที่ได้พบคนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน

Last updated: 3rd June 1997
(กลับไปดูเรื่อง....แหล่งความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก )

Children and Creativity Resources


เด็กๆกับแหล่งข้อมูลความคิดสร้างสรรค์
เขียนโดย Bill Paton

โดยธรรมชาติเด็กมีความอยากรู้อยากเห็นและสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตามการสอนของเราทำให้เด็กๆเกิดความท้อใจและเกิดการเอาอย่าง ถูกกีดกันความอยากรู้อยากเห็นของเด็กๆเหล่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องน่าเศร้าใจที่ระบบการศึกษาแบบมาตรฐานถูกจัดขึ้นเพื่อสอนให้เด็กเป็นอย่างผลิตผลจากโรงงานทำให้เกิดผลร้ายมากกว่าสิ่งใดๆทั้งหมด เมื่อโตเป็นคนหนุ่มสาวขึ้น เราก็ต้องกลับมาเรียนรู้ความสามารถที่เคยมีมาแต่เกิดกันใหม่ ให้มีความอยากรู้อยากเห็นคล้ายเด็ก (ตรงข้ามกับการเป็นเหมือนเด็ก) เพื่อให้มีความคิดสร้างสรรค์และเรียนรู้การเล่นว่าเป็นเช่นไรอีก Harry Chapin มีบทเพลงที่เกี่ยวข้องกับการทำให้จิตวิญญานที่สร้างสรรค์โดนทำลายไป บทเพลงนี้ชื่อว่า Flowers are Red.

เดี๋ยวนี้เราได้เห็นความสำคัญที่จะสนับสนุนให้เด็กๆมีความคิดสร้างสรรค์แท้จริง และต่อเนื่องไปถึงวัยเจริญเติบโตในช่วง ๕ ปีแรกของชีวิต การสนับสนุนโดยพ่อแม่และครู เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆในชีวิตภายภาคหน้า

ในขณะที่มีแหล่งความรู้ของความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญและสัมพันธ์กับเด็ก มีเพียงเล็กน้อยที่เกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับเด็กและส่งเสริมให้มีการเพิ่มพูนมากขึ้น สิ่งสำคัญที่ดีที่สุดสำหรับเด็กคือการสนับสนุนอะไรก็ตามที่เด็กกระทำและให้เป็นที่ยอมรับด้วย เด็กจะเรียนรู้จากพ่อแม่โดยตรงและนำมาเป็นเครื่องชี้ทางของเขาต่อไป

ตอนเป็นเด็กเราได้ฟังเรื่องราวที่ Mozart แต่งเพลงซิมโฟนีตอนเขาอายุเพียงแค่ ๕ ขวบ ทำให้เราฉงนสนเท่ห์ เราเข้าใจเพียงว่านี่เป็นความสามารถของคนที่เป็นอัจฉริยะเท่านั้นและเราไม่สามารถจะกระทำสิ่งนั้นได้ จึงไม่เคยลองกระทำเช่นนั้นเลย

โปรดลองอ่านเรื่องแทรกนี้ดู.. "เจ้าชายน้อย"..... (The Little Prince.)

มีแหล่งความรู้มากมายทั้งบนสื่ออินเทอร์เนทและที่อื่นๆ เพื่อส่งเสริมเด็กๆในเรื่องความคิดสร้างสรรค์

วิธีการสอนต่างๆ
วิธีการ Montessori

Dr. Maria Montessori พัฒนาเทคนิควิธีการสอนสำหรับเด็กอายุระหว่าง ๒-๕ ขวบ โดยใช้วิธีสัมผัสทางประสาททั้ง ๕ โดยเฉพาะการจับต้องเพื่อสำรวจความเข้าใจสิ่งของต่างๆรอบตัวเอง
มีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับตัวเธอและวิธีการของเธอบนสื่ออินเทอร์เนท คือ..
The Montessori Foundation
เกี่ยวข้องกับคำนำพื้นฐานที่ดีของวิธีการ Montessori
Montessori Method
แหล่งข้อมูลของ Montessori และโรงเรียนที่สนับสนุนวิธีการนี้
Montessori for Moms
แหล่งความเข้าใจที่สมบูรณ์สำหรับโรงเรียนที่บ้านตามวิธีการของ Montessori .
วิธีการของ Rudolf Steiner - The Waldorf School Method

ค้นหาได้จากแหล่งข้อมูลต่อไปนี้...
Rudolf Steiner Articles archive. มีการปรับปรุงเสมอๆ
Waldorf Schools and Various Links

หนังสือที่ขอแนะนำ

หนังสือทั่วๆไปเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กๆ รวมทั้งหนังสือเขียนโดย Edward de Bono เรื่อง "The Dog Exercising Machine" และเรื่อง "Teaching your child to think" รวมทั้งเรื่อง "Cognitive Research Trust (CORT)" เกี่ยวกับบทเรียนและวิธีการของ De Bono อีกทั้งเรื่อง "FREE TO BE, YOU AND ME" เขียนโดย Brain Teasers อ่านสนุกมาก

หนังสือนิทาน

เช่นหนังสือเกี่ยวกับ Sherlock Holmes และ Encyclopedia Brown สามารถช่วยส่งเสริมเด็กๆฝึกหัดทักษะการคิด และขอแนะนำเรื่อง "The Little Prince" เขียนโดย Antoine de Sainte Exupery และเรื่องชุดต่อเนื่องชื่อ "The Great Brain" เป็นต้น

กรุณาส่งคำแนะนำและรายชื่อหนังสืออื่นๆไปที่ Bill Paton

นิตยสาร

นิตสารเป็นสิ่งที่น่าสนใจของเด็กๆ เพราะมันมีสีสรร และเขาสามารถใส่ใจได้เร็วและง่ายในช่วงเวลาสั้นๆ (ถือเป็นความสนใจหลายๆเรื่องอย่างแท้จริง)

นิตยสารสำหรับเด็กรวมทั้ง OWL และCHICKADEE, National Geographic WORLD, National Geographic ที่นิยมทั่วไป

โปรดแนะนำรายชื่อนิตยสารอื่นๆไปที่ Bill Paton

โทรทัศน์

รายการโดยทั่วไปของโทรทัศน์ที่มี เป็นสิ่งบั่นทอนความคิดสร้างสรรค์ เพราะทำให้คนดูเฉื่อยชา (ตามที่ McLuhanเรียกว่าเป็น Cool Medium) และเกิดความสนใจในช่วงเวลาสั้นๆ เช่นรายการละคอน The Simpsons เป็นลักษณะของการแดกดัน อย่างไรก็ตามโทรทัศน์ยังถือว่าเป็นสื่อที่สำคัญในการเรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่าง เช่นด้านวัฒนธรรมและมุมมองที่แตกต่างกัน วิทยาศาสตร์และเรื่องราวต่างในประวัติศาสตร์ อื่นๆเป็นต้น มันสามารถส่งการเรียนรู้ที่มีอำนาจสำหรับเด็กไปถึงบ้านโดยตรง

รายการที่น่าสนใจสำหรับเด็กๆมีแนะนำดังนี้:

BEAKMAN'S WORLD
เป็นการมองวิทยาศาตร์ในเชิงตลกขบขัน

BILL NYE, SCIENCE GUY
เรื่องตลกทางวิทยาศาตร์อีกรายการเช่นกัน

READING RAINBOW

รายการนำการอ่านหนังสือเพื่อชีวิต โดยมี Levar Burton เป็นพิธีกร
SESAME STREET

รายการโชว์ยอดนิยม ได้รับการสนับสนุนโดย THE LETTER M.
OWL TV

รายการที่เป็นเลิศ เกี่ยวกับกลุ่มเพื่อนๆที่เรียนเรื่องราวต่างๆทางวิทยาศาตร์ มีโครงกระดูกเป็นเพื่อนแสดงคนหนึ่ง

F.R.O.G

"Foundation For Research and Other G..."

รายกายที่น่าสนใจคล้าย OWL แต่เหมาะสำหรับกลุ่มเด็กอ่อนวัย

กรุณาแนะนำรายการอื่นๆไปที่ Bill Paton

การสะสม

เด็กๆชอบการสะสมสิ่งของต่างๆ และสิ่งเหล่านี้สามารถส่งเสริมให้เขาเหล่านั้นมีความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นในตนเอง

เกมและของเล่น

เครื่องเล่น LEGO (อาจมีเว็บไซท์ของตนเอง) มีฐานทางระบบคอมพิวเตอร์สามารถช่วยประกอบการสร้าง lego blocks เข้าด้วยกัน ด้วยการควบคุมจากเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างง่าย เด็กสามารถสร้างให้เป็นหุ่นยนต์เคลื่อนไหว ROBOTS. COOL!!!!
เว็บไซท์อื่นที่เกี่ยวข้อง

CURIOCITY'S FREEZONE! เกี่ยวกับโครงการต่างๆ
CANADIAN KIDS HOMEPAGE เกี่ยวกับพ่อแม่และเด็ก
YES SCIENCE MAGAZINE โครงการต่างๆดำเนินการได้ที่บ้าน
หนังสือของNed Herrmann ชื่อ Creative Brain ให้ข้อมูลที่ดีสำหรับเด็ก เช่น:

กุญแจการมีชีวิตที่สร้างสรรค์ : การหวลคืนกลับมาของความสุขสรรค์ทางอารมณ์
เด็กคือครูที่ดีที่สุดของเรา
ที่ว่างเชิงสร้างสรรค์สำหรับเด็ก

ปรับปรุงสุดท้าย: วันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1997

Coping with Daily Distractions


การขจัดสิ่งที่กวนใจประจำวัน
เราจะเอาชนะสิ่งที่กวนใจในชีวิตประจำวันได้อย่างไร เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งขัดขวางและบั่นทอนความคิดสร้างสรรค์ (เช่น การดูแลเด็ก ดูแลพ่อแม่ที่ชรา งานที่น่าเบื่อ ความเจ็บป่วย เป็นต้น) ?

เว้นที่จะกล่าวถึงเวลาพิเศษสำหรับการคิด หรือสถานที่เหมาะกับการคิด..เช่นบางครั้งมุมๆหนึ่งของบ้านช่วยให้ท่านได้ปล่อยใจในการฟังและดื่มด่ำกับเสียงเพลง สถานที่เหมาะกับการลอยเรือ ออกไปวิ่งในตอนเช้า ฝึกโยคะ นั่งทำสมาธิ รำมวยจีน หรือกิจกรรมอื่นที่คล้ายกันในการสงบจิตใจ

การเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของเด็กๆ ท่านจะพบว่าของเล่นเด็กบางสิ่งช่วยให้เกิดขบวนการคิดสร้างสรรค์ได้ การเล่นต่อรูป Jig-saw (เป็นการคิดหลายมิติ), เล่นสร้างกล่อง ขีดเขียนภาพ แสดงบทตัวละคอน พูดคุยหรือตั้งคำถามกัน ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการฝึกฝนปฏิบัติการคิดสร้างสรรค์ทั้งนั้น

การเล่นเกมเหมือนงานอดิเรก สามารถพัฒนาการแก้ปัญหาและทักษะในการคิดสร้างสรรค์ มีเกมหลายชนิดที่เกี่ยวของกับการคิดที่ฉลาดให้คำตอบที่สร้างสรรค์ เช่นเกมตรวสอบในภาพเล็กๆ เกมกระดาน เกมไพ่ เกมคอมพิวเตอร์และการจำลอง เป็นต้น เป็นการฝึกหัดความคิดสร้างสรรค์แทบทั้งนั้น

พยายามใช้สิ่งที่กวนใจในชีวิตประจำวันเป็นการฝึกหัดความคิดสร้างสรรค์ ถ้าท่านเอางานน่าเบื่อและงี่เหง่ามาเปลี่ยนเป็นการเล่นกับมัน มันจะกลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับท่านทันที ยังพอมีเวลาอยู่แม้ท่านไม่สามารถสร้างความพยายามนี้ได้ แต่ในช่วงหนึ่งของเวลาทั้งวันท่านทำสิ่งที่เคยทำโดยสร้างเป็นสิ่งใหม่ให้กับตัวท่านได้ สำหรับงานดูแลเด็กๆ - จงส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กให้เป็นส่วนหนึ่งของตัวท่านให้ได้ ช่วยการสร้างสรรค์ให้เกิดด้วยคุณค่าของเด็กเอง ท่านจะพบความสนุกถ้าท่านยอมรับมัน โปรดระลึกถึงความคิดสร้างสรรค์ที่มีมาโดยสันดานของเด็ก มันจะกลายเป็นกำไรของชีวิตเมื่อเรานำมันออกมาใช้ให้ได้คำตอบที่สูงค่ากับปัญหาธรรมดาในชีวิตประจำวันของเรา

สิ่งรบกวนในชีวิตประจำวัน สามารถจัดการเสียใหม่ด้วยความท้าทายที่จะค้นหาความสามารถที่สร้างสรรค์ให้เจอ กิจประจำ

วันหนึ่งๆของท่านสามารถให้โอกาสที่ท่านจะเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ได้ จริงๆแล้วถ้าท่านทบทวนสิ่งที่ทำในแต่ละสัปดาห์ ท่านจะพบว่าหลายอย่างท่านแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปอย่างสร้างสรรค์ทีเดียว แน่นอนเรามักไม่สังเกตุสิ่งเหล่านี้ ท่านกลับบอกตัวเองว่าอะไรที่ท่านทำนั้นไม่มีการสร้างสรรค์เสียเลย โปรดพึงระวังไว้นะ ถ้าท่านบอกตัวเองอย่างนี้เสมอๆ ท่านจะหลงเชื่อไปเลยว่ามันเป็นความจริง

การควบคุมสิ่งกวนใจและความจำเป็นในชีวิตประจำวันนั้น เป็นเรื่องท้าทายสำหรับเราทุกคน แม้แต่ในเวลาที่เรากินและนอน

เราก็สามารถจุดประกายของความคิดสร้างสรรค์ของเราได้ทั้งนั้น มันเป็นไปไม่ได้เชียวหรือ? ที่ในหนึ่งชั่วโมงต่อวันที่เราไม่สามารถมีได้เพื่อการสำรวจดูความสามารถและค้นหาหนทางของการสร้างความคิดสร้างสรรค์ของตัวเราเอง

พลังแห่งการสร้างสรรค์ของเราสูญเสียไป เกี่ยวข้องกับสิ่งกวนใจในชีวิตประจำวัน เราจึงต้องหมั่นดูแลและเอาใจใส่อย่างมีสติตลอดเวลา ในสังคมที่เต็มไปด้วยเรื่องเครียดๆ เราไม่เคยเรียนรู้มากในการเอาใจใส่จดจ่อในบางเรื่อง ในสิ่งที่เรากำลังทำ การทำสมาธิเป็นแนวทางที่ดีทางหนึ่ง ที่ช่วยให้เราได้เจริญสติและมีความคิดสร้างสรรค์ได้

ผู้เขียนเคยได้ยินว่ามีคลินิกแพทย์คนหนึ่ง ได้วางตัวน๊อตและสกรูไว้เกลื่อนห้องพักคอยคนไข้ พบว่าไม่มีคนไข้คนใดเลยทีบ่นเรื่องการรอคอยพบแพทย์

ถ้าท่านต้องการผ่อนคลาย...จงไปตกปลา

เรียนรู้การรวมจินตนาการกับงานที่ทำอยู่ประจำวัน ใช้ความสามารถในทางสร้างสรรค์ปรับปรุงชีวิตประจำวันของท่านให้ดียิ่งขึ้น

Return to Creativity Basics
Return to Creativity Web
Last updated: 4th August 1999